เทคนิคการแก้ตัวกับการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ของเด็กและเยาวชน: ศึกษาเฉพาะศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายในกรุงเทพมหานคร
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคนิคการแก้ตัวและความผูกพันทางสังคมกับการ
กระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ของเด็กและเยาวชนชาย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายในกรุงเทพมหานคร 3 แห่ง คือ บ้านกรุณา บ้านมุทิตา บ้านอุเบกขา จำนวน 210 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษา พบว่า
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 16-19 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา นับถือศาสนาพุทธ ค่าใช้จ่ายส่วนตัวต่อเดือนน้อยกว่า 2,000 บาท บิดามารดาอยู่ด้วยกันและมีอาชีพรับจ้างทั่วไป ครอบครัวมีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 7,000 บาท อยู่อาศัยร่วมกันเฉพาะพ่อแม่ลูก
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านเทคนิคการแก้ตัวส่งผลต่อการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ของเด็กและเยาวชนชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยด้านความผูกพันทางสังคม ส่งผลการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ของเด็กและเยาวชนชายอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ ครอบครัว สังคมและภาครัฐควรตระหนักและปลูกฝังจิตสำนึกการเป็นคนดี มีคุณธรรมและจริยธรรมให้แก่เด็กและเยาวชน ตลอดจนการเคารพ เชื่อฟัง และปฏิบัติตนตามกฎระเบียบ บรรทัดฐาน และกฎหมายของสังคม เพื่อให้เด็กและเยาวชนเรียนรู้การเหนี่ยวรั้ง สะกดกลั้นและควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ให้กระทำผิด เพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข
คำสำคัญ : การกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ เทคนิคการแก้ตัว ความผูกพันทางสังคม
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus