การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบเสริมต่อการเรียนรู้บนฐานของการใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์

ชนะชัย ทะยอม, สิรินภา กิจเกื้อกูล, จินตนา กล่ำเทศ

Abstract


การวิจัยปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบเสริมต่อการเรียนรู้บนฐานของการใช้ปัญหาเป็นฐานที่ส่งเสริมสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รูปแบบการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนดังนี้ 1) การระบุประเด็นปัญหา 2) การสืบค้นข้อมูล 3) การอธิบายหรือโต้แย้ง 4) การนำเสนอ 5) การประเมิน และ 6) การสะท้อนผล กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ แบบทดสอบสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ แบบบันทึกการสะท้อนผล และแบบบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียน

ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ช่วยส่งเสริมสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือได้ คือ การกำหนดสถานการณ์ปัญหาที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน การกำหนดภาระงานที่มากในชั้นเรียน ได้แก่ การทำการทดลองเพื่อหาคำตอบของการแก้ปัญหาการสร้างชิ้นงาน และการทดสอบผลการแก้ปัญหา เป็นต้น และการกระตุ้นให้นักเรียนสะท้อนความคิดและมีการประเมินความเข้าใจร่วมกันผ่านการอภิปรายโต้แย้ง 2) นักเรียนมีการพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือเพิ่มขึ้นตามลำดับจากวงจรปฏิบัติการที่ 1 ถึง 3 ซึ่งสอดคล้องกับผลการทดสอบสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือท้ายวงจรปฏิบัติการที่ 3 ด้วยการใช้แบบทดสอบสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีสมรรถนะในระดับสูงและกลางของแต่ละสมรรถนะย่อย แต่เมื่อพิจารณาสมรรถนะที่นักเรียนพัฒนาได้ดีที่สุด คือ สมรรถนะ “การสร้างและรักษาระเบียบของกลุ่ม” รองลงมา คือ สมรรถนะ “การสร้างและเก็บรักษาความเข้าใจที่มีร่วมกัน” และลำดับสุดท้าย คือ สมรรถนะ “การเลือกวิธีการดำเนินการที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา”

คำสำคัญ: สมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ, รูปแบบการเรียนรู้แบบเสริมต่อการเรียนรู้บนฐานของการใช้ปัญหาเป็นฐาน

 

The purpose of this action research was to study the characteristics and results of using DEEPER scaffolding framework for developing collaborative problem solving competency on stoichiometry topic for Mathayom Suksa IV students. There were 6 steps in the learning approach: 1) Define 2) Explore 3) Explain 4) Present 5) Evaluate and 6) Reflect. The sample group was 37 enrichment science classroom students. The research instruments included a set of lesson plans, the collaborative problem solving competency observation form, the collaborative problem solving competency test, a reflective journals, and a student learning’s record form.

The research results indicated that 1) The effective ways to develop students’ collaborative problem solving competency comprised defining the interesting problem related to everyday life, assigning many tasks to the class: an experiment to find out the answer to solve the problem, work piece construction, and testing the results, etc. Encouraging students to reflect and evaluate their ideas with argumentation. 2) Their collaborative problem solving competency increased significantly from first to third cycle of the classroom action. In addition, this results agreed with the collaborative problem solving competency examined by using the collaborative problem solving competency test in the end of the third cycle. Most of the students had high and medium levels of proficiency in collaborative problem solving competency in each of three competencies. However, considered the performance of students, the best competency of students was establishing and maintaining group organization, followed by establishing and maintaining shared understanding, and selecting an appropriate action to solve the problem, respectively.

Keywords: collaborative problem solving competency, DEEPER scaffolding framework


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2017.24

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus