โครงสร้างองค์การที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ภายหลังการปรับเปลี่ยนตามแนวทางการบริหารงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

อลงกต สุขุมาลย์, สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ

Abstract


การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ภายหลังการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์การตามแนวทางการบริหารงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) 2) เพื่อศึกษาโครงสร้างองค์การที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของ ศอ.บต. ภายหลังการปรับเปลี่ยนตามแนวทางการบริหารงานของ คสช. และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์การเพื่อการพัฒนาประสิทธิผลของ ศอ.บต. ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการและพนักงานราชการจำนวน 223 คน ส่วนผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้อำนวยการในสังกัดย่อย จำนวน 5 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ผลข้อมูลจากแบบสอบถามใช้เพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 และ 2 ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS และวิเคราะห์ออกมาเป็นสถิติเชิงพรรณนา (descriptive analysis) รวมทั้งนำค่าที่ได้มาอภิปรายร่วมกับผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ซึ่งเป็นวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) และสรุปเป็นแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3

ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิผลของ ศอ.บต. ภายหลังการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์การตามแนวทางการบริหารงานของ คสช. ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยมุ่งเน้นไปในด้านการสร้างพื้นที่และสภาพแวดล้อมเพื่อแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติวิธี ด้านการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน และด้านการพัฒนาการบริหารด้วยการมีส่วนร่วมและบูรณาการแก้ไขปัญหาพื้นที่พิเศษ ซึ่งเป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเป็นสามอันดับแรก เนื่องจาก ศอ.บต. มีลักษณะโครงสร้างองค์การที่เน้นการจัดสายการบังคับบัญชา การกระจายอำนาจ และการแบ่งงานกันทำตามความชำนาญ ปัจจัยดังกล่าวถือว่ามีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของหน่วยงาน โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 49.5 ดังนั้น ศอ.บต. จึงควรมีแนวทางปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์การ ได้แก่ การออกแบบโครงสร้างองค์การที่ยึดหลักของความสามารถในการจัดแบ่งภาคส่วนต่างๆ เน้นการจัดสายการบังคับบัญชาที่ทำให้เกิดความร่วมมือของบุคลากร มีการปรับลดขั้นตอนความเป็นทางการจนเกิดเป็นแนวทางการปฏิบัติงานใหม่ที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงโครงสร้างองค์การที่มีลักษณะของการรวมอำนาจ และยึดหลักของการกระจายอำนาจในการขับเคลื่อนการปฏิบัติงาน

คำสำคัญ: โครงสร้างองค์การ, อิทธิพล, ประสิทธิผลองค์การ, ศอ.บต., คสช.

 

This study aimed: 1) to study the level of effectiveness of the Southern Border Provinces Administrative Center (SBPAC) after the changes in the organizational structure according to the administrative guidelines of the National Council for Peace and Order (NCPO), 2) to study the organizational structure influencing the effectiveness of the SBPAC after the changes according to the administrative guidelines of the NCPO, and 3) to suggest the organizational structures’ change guidelines for developing the effectiveness of the SBPAC. The sample group consisted of 223 people, consisting of government officials and government employees. Key informants were five directors of sub-units. As for data of questionnaires, SPSS was used for analyzing, aiming to answer the first and second research objectives. Data were analyzed as descriptive statistics for jointly discussing data on the interview with content analysis. Finally, the research concluded as the guidelines for developing the effectiveness to answer the third research question. The research tools were questionnaires and interview forms.

The research results were as follows: The effectiveness in every aspect of the SBPAC after the change in the organizational structure according to the administrative guidelines of the NCPO was at a high level by emphasizing the creation of areas and an environment for seeking the peaceful solution to problems, communication for creating mutual understanding, and the development of an administration with participation and integration of solutions to the problems of special areas at the highest mean of the first three sequences. Because the organizational structure of SBPAC consisted of a re-organization of the chain of command, decentralization, and expertise-based work divisions. The aforementioned organizational structure influenced the effectiveness of SBPAC and was able to predict the effectiveness with accountability of 49.5%. So the SBPAC should be the organizational structure change guidelines as follows: The SBPAC should efficiently design a capability-based organizational structure, emphasize the organization of the chain of command bringing about staffs’ cooperation, reduce formality to bring about suitable operational guidelines, avoid centralization, and focus on decentralization to stimulate operations.

Keywords: organizational structure, influencing, organizational effectiveness, SBPAC, NCPO


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2017.1

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus