เงื่อนไขที่เอื้อต่อการพัฒนาความสามารถทางนวัตกรรมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดชายแดนใต้
Abstract
การศึกษานี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาคำอธิบายถึงเงื่อนไขที่เอื้อต่อการพัฒนาความสามารถทางนวัตกรรมของ SMEs ในจังหวัดชายแดนใต้ วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้ คือ วิธีการศึกษาเฉพาะกรณี กรณีที่ศึกษาคือบริษัท ศิรินันท์ฟู้ด จำกัด ซึ่งเป็นวิสาหกิจขนาดกลางในจังหวัดปัตตานีที่มีนวัตกรรมที่หลากหลาย การเก็บข้อมูลใช้หลายวิธีการ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าของกิจการและผู้บริหาร การสังเกตการดำเนินธุรกิจแบบไม่มีส่วนร่วม และการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาความสามารถทางนวัตกรรมของ SMEs ฯ เกิดด้วยเงื่อนไขที่สำคัญ 5 ประการ ได้แก่ ความกล้าเสี่ยง การสร้างเครือข่าย การมุ่งตอบสนองความต้องการตลาด การดำเนินธุรกิจเชิงรุก และการเรียนรู้ขององค์กร ความกล้าเสี่ยงนำไปสู่การเรียนรู้ขององค์กรและการดำเนินธุรกิจเชิงรุก ส่วนการสร้างเครือข่ายทำให้ผู้ประกอบการมีความกล้าเสี่ยง การมุ่งตอบสนองความต้องการของตลาดส่งผลให้เกิดการดำเนินธุรกิจเชิงรุกและเกิดการเรียนรู้ขององค์กร การศึกษาทำให้ได้แบบจำลองที่อธิบายเงื่อนไขที่ส่งผลให้เกิดความสามารถทางนวัตกรรมของ SMEs ในจังหวัดชายแดนใต้
คำสำคัญ: นวัตกรรม, ความสามารถทางนวัตกรรม, ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, การวิจัยเชิงคุณภาพ
This research is the qualitative approaching method and aimed to find a description of the conditions facilitating innovativeness among SMEs in the southern border provinces. Case study methodology was used to this study. Sirinan Food Ltd is the medium enterprise with various innovations which was used for case study methodology. The data was collected using several methods, including in-depth interviews, non-participant observation, and documentary search. The results showed that innovativeness of the SMEs consists of five 5 important keys conditions, which are the risk-taking, networking, market orientation, proactiveness, and learning orientation. The willing to take risk in the business leads to learning orientation and proactiveness. Networking creates a confidence for the entrepreneur to take risk in business venturesome. Market orientation results in proactiveness business and learning orientation. The study resulted in the model that describes the conditions that lead to the development of innovativeness of SMEs in the southern border provinces.
Keywords: innovation, innovativeness, entrepreneurs of small and medium enterprises, qualitative research
Full Text:
PDFDOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2017.3
Refbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus