ปัจจัยที่เกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกศึกษาที่วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

นาซีมะห์ อาลี

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบ ตลอดจนข้อเสนอแนะปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเลือกศึกษาที่วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ชั้นปีที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2557 จำนวน 159 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสนทนากลุ่ม จำนวน 18 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้

1. ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเลือกศึกษาที่วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในภาพรวมทั้ง 6 ด้าน และทุกรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่าง ระดับความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยการตัดสินใจที่เลือกศึกษาที่วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำแนกตาม เพศ สาขาวิชา เกรดเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ผู้อุปการะของนักศึกษา รายได้รวมเฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว และข่าวสารการสมัคร โดยรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้นภูมิลำเนา ผลการเปรียบเทียบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกศึกษาที่วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คือ ควรมีการประชาสัมพันธ์ แนะแนวเกี่ยวกับหลักสูตรและแนะแนวทางการประกอบอาชีพ เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจและควรจัดสรรทุนการศึกษา

คำสำคัญ: ปัจจัยที่เกี่ยวกับการตัดสินใจ, วิทยาลัยอิสลามศึกษา, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

The objectives of this research were 1) to study factors associated with the decision to study at College of Islamic Studies (CIS), Prince of Songkla University (PSU); 2) to compare factors associated with the decision to study at College of Islamic Studies, Prince of Songkla University; and 3) to recommend about the factors associated with the decision to study at College of Islamic Studies, Prince of Songkla University. The sample was 159 of the first year students of College of Islamic Studies, Prince of Songkla University. The Instruments used were a questionnaire with rating scale, check list type and focus group consisting of 18 students. The statistics used for data analysis were percentage, arithmetic mean, standard variation, alpha coefficient, t-test and F-test.

The research results revealed that:
1) The factors associated with the decision to study at College of Islamic Studies, Prince of Songkla University in the most aspects were at a high level except.
2) The comparison of factors associated with the decision to study at College of Islamic Studies, Prince of Songkla University by gender, major, grade point average (GPA), family profile, family monthly income, there were insignificantly different in their factors associated. However place of birth location was significantly different level 0.05.
3) The recommendations about the decision factors to study at College of Islamic Studies, Prince of Songkla University were as follows: a) have more method in publishing or promoting the curriculum, and, b) to have more scholarships.

Keywords: factors associated with the decision, College of Islamic Studies, Prince of Songkla University


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2016.25

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus