การนำนโยบายข้าวไปปฏิบัติในบริบทของประเทศไทย

ชมภูนุช หุ่นนาค

Abstract


ข้าวเป็นผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญอย่างยิ่งของประเทศไทย แต่สถานการณ์โดยภาพรวมที่ผ่านมา คือ ราคาข้าวตกต่ำ ชาวนาทำนาปลูกข้าวไม่คุ้มกับต้นทุน และยังต้องเป็นหนี้เป็นสิน ถึงแม้อีกด้านหนึ่งรัฐบาลจะมีนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาในภาคการเกษตรอย่างต่อเนื่องก็ตาม จึงเป็นเรื่องที่น่าคิดว่าทำไมถึงไม่สามารถแก้ไขปัญหาของชาวนาให้คลี่คลายและหมดไปได้ การนำนโยบายข้าวไปปฏิบัติที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยควรมีลักษณะเช่นไร

การดำเนินนโยบายข้าวตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย ซึ่งขึ้นอยู่กับการกำหนดนโยบายของรัฐบาลและข้าราชการระดับสูง โดยไม่ได้ตระหนักถึงปัญหา ความต้องการ และสภาพบริบทเฉพาะแต่ละพื้นที่ รวมถึงลักษณะของนโยบายผลิตผลการเกษตรเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานและหลายระดับในทางปฏิบัติ ตลอดจนองค์การที่ตั้งขึ้นมาเพื่อรับผิดชอบดูแลด้านการเกษตรโดยตรงที่ผ่านมา ไม่มีการแบ่งแยกตามผลิตผลแต่ละประเภท แต่เป็นการนำกลุ่มคนที่ถนัด มีความรู้ความเข้าใจ และความต้องการในผลิตผลแต่ละประเภทที่แตกต่างกันมารวมตัวกัน ส่งผลให้ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากนัก ขณะเดียวกันการดำเนินงานต้องเผชิญกับบริบทที่สลับซับซ้อน และหลากหลายในสถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต

การนำนโยบายข้าวไปปฏิบัติต้องให้ความสำคัญกับความสอดคล้องต่อสภาพบริบทของพื้นที่ๆ มีความแตกต่างกัน และตระหนักถึงความต้องการที่แท้จริงของชาวนา ในการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ถึงแม้จะต้องมีกฎ ระเบียบ กติกาส่วนหนึ่งร่วมกัน แต่ควรมีแนวทางปฏิบัติเฉพาะแต่ละพื้นที่ และสามารถปรับเปลี่ยน ยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ ในอีกมุมหนึ่งความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติ ย่อมเกิดจากความสมดุลระหว่างอำนาจอย่างเป็นทางการที่ไหลจากบนลงล่าง และอำนาจที่ไม่เป็นทางการจากล่างสะท้อนไปยังข้างบน ตลอดจนต้องตระหนักถึง 1) การจัดการวางแผนที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้านความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ และปัจจัยการผลิตที่มีราคาสูง 2) การเชื่อมร้อยบทบาทของภาคีเครือข่ายที่หลากหลาย 3) ลดการครอบงำจากฝ่ายการเมืองและระบบราชการ และ 4) เพิ่มศักยภาพในการพึ่งพาตนเองและก้าวสู่การเป็นชาวนาเชิงประกอบการ

คำสำคัญ: การนำนโยบายไปปฏิบัติ, นโยบายข้าว

 

Rice is the important agricultural product of Thailand. Although, governor have the policy to solve the agricultural problems-low price of rice, loss, and debt but farmers still have the problems about the agriculture, so they should consider that rice policy is suitable for solving the problem or not.

From the past to now, the several pattern and method of rice policy are appointed by governors and senior government officials without the consideration in problems, needs and the context of area. Governor do not appoint the organization to manage the policy but to arrange the several professional and academic officers to do it, so the problems have not solved efficiently and they will be complex in the future.

The rice policies in the performance should be considered in the difference of context in area and the requirement of the farmer. The big project of rice policies is under the regulation but it should have the role for each area and to be flexible for each situation. In other words, the success of the policy in the performance is from the balance between the official power from upper to lower and the unofficial power from lower to upper, and to consider in 1) the effectiveness of the risk planning management and high cost of production factor 2) the connection of responsibility among the various of network member 3) decrease the political power and the governmental power, and 4) increase the effectiveness of the farmer in the self-sufficient and to support to be the business farmer.

Keywords: policy implementation, rice policies


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2016.43

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus