ปฏิกิริยาของชาวเบตงและผู้เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวภายใต้สถานการณ์ไฟใต้

ธนินทร์ สังขดวง, รัญชิดา สังขดวง

Abstract


การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชนที่อาศัยและประกอบอาชีพในพื้นที่ ที่มีปฏิกิริยาต่อการท่องเที่ยวทั้งในด้านบวกและด้านลบ การประเมินผลถึงประโยชน์ที่ได้รับโดยรวมของชุมชนพื้นที่ รวมทั้งการสนับสนุนเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยว 2) ศึกษาวิเคราะห์สภาพความเป็นไปในพื้นที่ จากผู้เกี่ยวข้องหลักกับการท่องเที่ยว ระเบียบวิธีการศึกษาที่ใช้ คือ การผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ พื้นที่ศึกษา คือ เขตเทศบาลเมืองเบตง โดยใช้ 2 กลุ่มตัวอย่าง ประกอบไปด้วยกลุ่มประชาชนที่อาศัยและประกอบอาชีพในพื้นที่ 172 ตัวอย่าง และกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว 10 ตัวอย่าง ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่ายในกลุ่มตัวอย่างแรกและสุ่มแบบเจาะจงในกลุ่มตัวอย่างสอง ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชนที่อาศัยและประกอบอาชีพในพื้นที่แตกต่างกันมีปฏิกิริยาต่อการท่องเที่ยว การประเมินผลถึงประโยชน์ที่ได้รับโดยรวม ทั้งการสนับสนุนเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และ 2) ภาพรวมความร่วมมือของชุมชนด้านการท่องเที่ยวค่อนข้างดีไม่เคยมีปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอย่างไรก็ตาม จำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยมีน้อยมาก กลุ่มนักท่องเที่ยวหลัก คือ ชาวมาเลเซีย เนื่องจากผ่านแดนได้สะดวก ขณะที่สถานที่ท่องเที่ยวบางแห่งยังขาดการจัดการดูแลที่ดี จนบางครั้งกลายเป็นแหล่งมั่วสุมของวัยรุ่นในพื้นที่

คำสำคัญ: ปฏิกิริยาของชุมชนต่อการพัฒนาการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวภายใต้สถานการณ์ไฟใต้, เบตง

 

The objectives of this study were 1) to study the personal factors of population who lived and worked in the area of the study that affected their perception on tourism impacts in both positive and negative sides, an evaluation on the overall benefit of the community, and tourism development support, and, 2) to analyze the physical environment from people who mainly involved in tourism development. Research design used in the study was mixed method including qualitative method and quantitative method. The area of the study was Betong municipal area. Two sample groups were used: The samples were 172 people who lived and worked in the area, and, 10 people involved in tourism sector. The first sample group employed simple random sampling and the second sample group employed purposive sampling. The major findings were as follows: 1) the population who lived and worked in the area of the study with different personal factors had different perception on tourism impacts, evaluation on overall benefit of the community, and tourism development support, with the statistically significance level at .05; and, 2) cooperation in tourism of the communities was quite proper. They had no conflicts between groups. However, numbers of Thai tourists were very few. Majority group of tourists was Malaysian, due to cross border convenience. Meanwhile, some tourist attractions were lack of good management.

Keywords: residents response to tourism development, tourism in Southern Thailand’s conflict area, Betong


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2016.6

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus