ผลของการใช้หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 หมัก ในสูตรอาหารผสมเสร็จต่อสมรรถภาพการผลิต ของแพะและการยอมรับของกลุ่มเกษตรกรรายย่อย

มาเหยด เถาวัลย์

Abstract


ารศึกษาผลของการใช้หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 หมัก ในสูตรอาหารผสมเสร็จต่อสมรรถภาพการผลิตของแพะ และการยอมรับของกลุ่มเกษตรกรรายย่อย ทำการทดลองในแพะลูกผสมพื้นเมือง-แองโกลนูเบียน ร้อยละ 50 เพศเมีย อายุประมาณ 4-6 เดือน นํ้าหนักประมาณ 12-15 กิโลกรัม จำนวน 20 ตัว โดยสุ่มให้แพะแต่ละกลุ่มได้รับอาหาร ดังนี้ อาหารควบคุม (อาหารข้น ร้อยละ 1.5 ของนํ้าหนักตัว: หญ้าหมักอย่างเต็มที่) อาหาร TMR 1 (อาหารข้น ร้อยละ 85: หญ้าหมัก ร้อยละ 15) อาหาร TMR 2 (อาหารข้น ร้อยละ 80: หญ้าหมัก ร้อยละ 20) และอาหาร TMR 3 (อาหารข้น ร้อยละ 75: หญ้าหมัก ร้อยละ 25) โดยให้แพะกินอาหารอย่างเต็มที่ ในระยะเวลาการทดลอง 84 วัน โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลตามแผนการทดลองสุ่มสมบูรณ์ โดยมีการปรับนํ้าหนักเริ่มต้นเป็นตัวแปร covariate จากการศึกษา พบว่า แพะที่ได้รับอาหาร TMR 1 และอาหาร TMR 2 มีสมรรถภาพการผลิตดีกว่ากลุ่มอื่นๆ และเมื่อพิจารณาถึงต้นทุนค่าอาหาร พบว่า อาหาร TMR 2 และอาหาร TMR 3 มีต้นทุนค่าอาหารตํ่าที่สุด ดังนั้น อาหาร TMR 2 จึงมีความเหมาะสมที่สุดในการนำไปใช้ในการเลี้ยงแพะโดยมีปริมาณการกินอาหาร (416.32 กรัม/ตัว/วัน) การเพิ่มนํ้าหนักตัว (5.16 กิโลกรัม/ตัว) อัตราการเจริญเติบโต (61.43 กรัม/ตัว/วัน) ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นนํ้าหนักตัว (9.76) และมีต้นทุนค่าอาหาร (2.64 บาท/ตัว/วัน)

สำหรับการยอมรับของกลุ่มเกษตรกรรายย่อยที่มีต่อเทคโนโลยีอาหารแพะ โดยใช้อาหารผสมเสร็จในการเลี้ยงแพะ พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีความเห็นด้วยกับการเลี้ยงแพะด้วยอาหารผสมเสร็จ และมีเกษตรกรเพียงส่วนน้อยที่ไม่แน่ใจต่อการเลี้ยงในลักษณะนี้ เพราะต้องใช้ความรู้ อย่างไรก็ตาม เกษตรกรส่วนใหญ่ก็ยังมีการยอมรับในระดับมากที่สุด และมีเกษตรกรที่มีการยอมรับในระดับปานกลาง ในความยากง่ายต่อการผลิตอาหารผสมเสร็จ

คำสำคัญ: หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1, สูตรอาหารผสมเสร็จ (TMR), แพะลูกผสมพื้นเมือง-แองโกลนูเบียน, สมรรถภาพการผลิต, การยอมรับของกลุ่มเกษตรกร

 

The objectives of this study were carried out the effect of Pakchong 1 Napier grass (Pennisetum purpureum x Pennisetum americanum) silage total mixed rations on the growth of goats, and assessed its adoption by goat smallholders. Twenty 4-6 months old crossbred Anglo-Nubian 50% females, weighing 12-15 kg, were randomly for feeding in groups; control feed (1.5% concentrate of weight: completely Napier grass silage), total mixed ration 1 (85% concentrate: 15% of Napier grass silage), total mixed ration 2 (80% concentrate: 20% of Napier grass silage) and total mixed ration 3 (75% concentrate: 25% of Napier grass silage) in eighty-four days completely feed. Completely Randomized Design with weight adjusted to be covariate was used for data analysis.

The study found that goats fed total mixed ration 1 and total mixed ration 2 had the highest production performance and considering the cost of feed showed total mixed ration 2 and total mixed ration 3 have cost-effective. In this way; total mixed ration 2 was the most suitable to feed goats (416.32 g/head/day), average weight gain (5.16 kg/head), growth rate (61.43 g/head/day), feed conversion ratio (9.76) and a feed cost (2.64 baht/head /day).

Attitudes to the assessed its adoption of mixed rations by goat smallholders found that most assessed goats feeding with mixed rations. Less was not sure in mixed rations because of knowledge. However most farmers were hight level assessed and average about the difficulty in producing silage mixed ration.

Keywords: Pennisetum purpureum (Pakchong1), Total Mixed Ration (TMR), Anglo-Nubian goat, production capacity, Adoption by goat smallholders


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2016.12

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus