การจัดการสารสนเทศการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชายเลนจังหวัดปัตตานี โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

อิสมาแอ ยีมะแซ, อิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและจัดการสารสนเทศการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าชายเลนในเขตพื้นที่จังหวัดปัตตานี ในช่วงปี พ.ศ. 2543-2552 และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าชายเลน โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ รวมทั้งส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากสารสนเทศการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชายเลนที่พัฒนาขึ้น

ผลการวิจัยพบว่า จังหวัดปัตตานีมีพื้นที่ป่าชายเลนใน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอไม้แก่น อำเภอยะหริ่ง อำเภอสายบุรี และอำเภอหนองจิก มีปริมาณพื้นที่รวม ในปี พ.ศ. 2543 จำนวน 26,140.06 ไร่ ปี พ.ศ. 2552 มีจำนวน 21,897.81 ไร่ โดยลดลงจากปี พ.ศ. 2543 จำนวน 4,242.25 ไร่ และปี พ.ศ. 2558 มีพื้นที่ที่มีสภาพเป็นป่าชายเลน 17,847.88 ไร่ ลดลงจากปี พ.ศ. 2552 จำนวน 4,049.93 ไร่ และเมื่อเทียบระหว่างปี พ.ศ. 2543 กับ ปี พ.ศ. 2558 พบว่า ลดลงจำนวน 8,292.18 ไร่ ส่วนลักษณะการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่จากสภาพเดิมที่เป็นป่าชายเลนจังหวัดปัตตานีระหว่างปี พ.ศ. 2543-2552 มีการเปลี่ยนแปลงใน 5 ลักษณะ คือ 1) ป่าชายเลนเปลี่ยนเป็นเกษตรกรรม 2) ป่าชายเลนเปลี่ยนเป็นนากุ้ง 3) ป่าชายเลนเปลี่ยนเป็นนาเกลือ 4) ป่าชายเลนเปลี่ยนเป็นพื้นที่ทิ้งร้าง 5) ป่าชายเลนเปลี่ยนเป็นป่าพรุ ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่เปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรม จำนวน 5,056.46 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 95.89 ของการเปลี่ยนแปลง

ผลการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากสารสนเทศการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าชายเลนจังหวัดปัตตานี ในพื้นที่เป้าหมาย 3 ตำบล โดยนำเสนอข้อมูลเนื้อหาและสารสนเทศที่พัฒนาให้แกนนำชุมชนและประชาชนในพื้นที่รับรู้ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม รวมจำนวน 74 คน ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ในด้านวิทยากร สถานที่ และระยะเวลา ความรู้ความเข้าใจเนื้อหา การนำความรู้ไปใช้และเผยแพร่ พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ: ป่าชายเลน, การเปลี่ยนแปลง, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, การจัดการสารสนเทศ

 

The objectives of this study were to examine and manage information of mangrove forest area change in Pattani province during 2000 to 2009, and its future change using Geographic Information System, as well as to promote application of information management in mangrove area change.

The findings revealed that mangrove forest area in Pattani province were found mainly in five districts of Muang, Maikaen, Yaring, Saiburi and Nongchik. In 2000, the area was at 26,140.06 Rais and in 2009 remaining to 21,897.81 Rais, decreased 4,242.25 Rais from the year 2000. In 2015, the area decreased to 17,847.88 Rais, smaller than 2009 at 4,049.93 Rais, and when compared between the year 2000 and 2005, the area decreased of 8,292.18 Rais. From the year 2000 to 2009 mangrove forest area had been changed to five land use types: 1) agricultural area, 2) shrimp farms, 3) salt farms, 4) abandoned area, and 5) swamp forest. Most of the mangrove area, 5,056.46 Rais (95.89%), has been converted to the agricultural land.

To promote the application of information management in mangrove area change in Pattani, researcher brought up the application to 74 community leaders and villagers in the three targeted sub-districts in Pattani province. Evaluation of satisfaction in terms of guest speakers, period of time and place, understanding of contents and application of knowledge, results showed that participants were most satisfied.

Keyword: mangrove, change, geographic information system, information management

 


Full Text:

PDF

References


กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, การจำแนกพื้นที่ป่าชายเลน, การสื่อสารระหว่างบุคคล (อีเมลล์) 7 พฤษภาคม 2555.

เจริญ มีผล. (2551). การพัฒนากระบวนการบริหารจัดการเครือข่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมป่าชายเลนของโรงเรียนบ้านบงดิบ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา 50 พรรษา สยามบรมราชกุมารี. (ม.ป.ป.). กำเนิดของป่าชายเลน. สืบค้นจาก http://www.sc.psu.ac.th/chm/biodiversity/mangrove.html

มะสุกรี มะสะนิง, นายกสมาคมชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดปัตตานี, สัมภาษณ์ 13 มีนาคม 2558.

ยูโซะ หะยียูโซะ, สัมภาษณ์ 13 มีนาคม 2558.

วันชัย ทับทิม, เจ้าหน้าที่ตรวจป่า สถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 39 (ปัตตานี), สัมภาษณ์ 10 มีนาคม 2558.

สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ. (2540). รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2015.34

Refbacks



สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus