การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

สมชาย รัตนคช, ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์, เอกรินทร์ สังข์ทอง, ชวลิต เกิดทิพย์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบขององค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และเสนอแนวทางการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยใช้ระเบียบการวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 มี 2 ขั้นตอน 1) สังเคราะห์เอกสารและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน 2) วิเคราะห์องค์ประกอบโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ระยะที่ 2 มี 2 ขั้นตอน 1) ยกร่างแนวทางการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ให้สอดคล้องกับองค์ประกอบที่ได้ในระยะที่ 1 2) ตรวจสอบและยืนยันแนวทางการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยการสนทนากลุ่มผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ประชากรเป็นบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีจำนวนทั้งหมด 2,214 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ จำนวน 822 คน

ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบขององค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มี 8 องค์ประกอบ ได้แก่ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ยั่งยืน การเปิดพื้นที่การเรียนรู้ในการปรับปรุงงานอย่างสร้างสรรค์ การเพิ่มขีดความสามารถให้เชี่ยวชาญและรอบรู้ การพัฒนาทักษะกระบวนการคิด ภาวะผู้นำและการให้อำนาจ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างแบบแผนความคิดตามความเป็นจริง และการขับเคลื่อนภารกิจสู่วิสัยทัศน์ร่วม 2) แนวทางการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาการเรียนรู้ที่ยั่งยืน การปรับเปลี่ยนองค์การสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ การให้อำนาจและอิสระในการสร้างความสามารถ การจัดการความรู้ และการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ

คำสำคัญ: องค์การแห่งการเรียนรู้, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

The purposes of this research were to 1) identify the factors of Learning Organization of Prince of Songkla University (PSU) 2) propose the guidelines on Learning Organization Development of PSU. The mixed methodology consisted of 2 stages. Stage one consisted of 2 steps: 1) applying content analysis and taking interview with 5 experts and 2) analyzing the factors by using exploratory factor analysis. Stage two consisted of 2 steps: 1) drafting the guidelines on Learning Organization Development of PSU and 2) confirming the guidelines by using focus group with 7 administrators. The population was 2,214 persons. The sample size was 822 persons.

The research findings were as follows: 1) the factors of learning organization of PSU with 8 factors consisted of: sustainable learning, opening areas of learning to improve creatively, enhancing to be expert and knowledgeable, developing thinking process, leadership and empowerment, using Information technology, creating mental model, and driving missions toward a shared vision. 2) The guidelines on learning organization development of PSU with 5 issues consisted of: the development of a sustainable learning, changing to learning organization, empowerment to create capacity, knowledge management, and Information technology.

Keyword: learning organization, Prince of Songkla University


Full Text:

PDF

References


กองแผนงาน. (2550). นโยบายและแผนพัฒนามหาวิทยาลัยในช่วงปี พ.ศ. 2550-2554 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สืบค้นจาก http://www.planning.psu.ac.th/images/files/information/planning/plan10.pdf

จิตติมาภรณ์ สีหะวงษ์. (2554). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชูเกียรติ บุญกะนันท์. (2550). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญานิพนธ์การศึกษา ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นันทริกา ชันซื่อ. (2554). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ของคณะสัตวแพทยศาสตร์ในประเทศไทย. ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม.

ปรัชญา ชุ่มนาเสียว. (2553). รูปแบบกลยุทธ์การจัดการองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปาริชาติ คุณปลื้ม. (2548). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย. ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภูษิต รุ่งแก้ว. (2555). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม. ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม.

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2555). แผนพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (พ.ศ.2555-2558). สืบค้นจาก http://www.psu.ac.th/sites/default/files/PSU_PLAN_ Dev2555_2558.pdf

มาลี ธรรมศิริ. (2549). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้โดยผ่านหน่วยพัฒนาวิทยากร. สืบค้นจาก http://www.school.obac.go.th

มาลี สืบกระแส. (2552). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม.

ลือชัย จันทร์โป๊. (2546). รูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนอาชีวศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต, สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

วิจารณ์ พานิช. (2546). สู่การสร้างสรรค์สูงส่งเต็มศักยภาพการจัดการความรู้ในมหาวิทยาลัย. วารสารศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(3), 3-10.

_______. (2550). ผู้บริหารองค์กรอัจฉริยะฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.

วิชิต แสงสว่าง. (2555). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบโครงสร้างเชิงเส้น. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2545). โรงเรียนองค์การแห่งการเรียนรู้แนวคิดทางการบริหารการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: ทิพย์วิสุทย์.

ศันสนีย์ จะสุวรรณ. (2550). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมคิด สร้อยนํ้า. (2547). การพัฒนาตัวแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา. ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุรพงศ์ เอื้อศิริพรฤทธิ์. (2547). การพัฒนาตัวบ่งชี้รวมความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดภาคใต้. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2549). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554). สืบค้นจาก http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=139

สำนักงานประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2555). รายงานประจำปีการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามปีการศึกษา 2553 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

Bennett, & O’Brien. (1994). Predictors of learning organizations: a human resource development practitioner’s perspective. Retrieved from http://www.emeraldinsight.com/Insight/viewContentItem.do?contentType= Article&hdAction=lnkhtml&contentId=882583

Garvin, D. (1993). Building a learning organization. Harvard Business Review, 71, 78-91.

Kaiser, S. M. (2000). Mapping the learning organization: Exploring a model of organizational learning. Doctoral dissertation, Louisiana State University.

Marquardt, M. J., & Reynolds, A. (1994). The global learning organization. NY: Irwin. Marquardt, M. J. (1996). Building the learning organization: a systems approach to quantum improvement and global success. NY: McGraw-Hill.

_______. (2002). Building the learning organization mastering The 5 elements for corporate learning. NY: Prentice-Hall.

Pedler, B., & Boydell, T. (1988). Success factors in learning organizations: An empirical study. Retrieved from www.ingentaconnect.com/ content/mcb/ 037/1997/00000029/00000002/art00002

Pedler, B., Burgoyne, J., & Boydell, T. (1991). The learning company, A strategy for sustainable development. London: McGraw-Hill.

Senge, P. M. (1990b). The fifth disciplines: the art and practice of learning organization. London: Century Business.

_______. (1990a). The challenges to sustaining momentum in Learning organizations. Retrieved from http://www.iafworld.org/files/member/Journal03-2001.pdf#page=86

Hair, J. F. J., Anderson, R. E., Tatham, R. L. , & Black, W.C. (1998). Multivariate data analysis (5th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2015.38

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus