การพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้

สุมาวดี พวงจันทร์, เอกรินทร์ สังข์ทอง, ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์, เรชา ชูสุวรรณ

Abstract


บทความนี้สะท้อนให้เห็นพัฒนาการการจัดการอาชีวศึกษาของเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้จากอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะจุดเริ่มต้น หลักการ ยุทธศาสตร์สำคัญๆ รวมถึงวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายที่เกี่ยวกับการจัดการอาชีวศึกษา ประโยชน์ของบทความนี้จะช่วยให้ผู้สนใจและผู้เกี่ยวข้องเข้าใจภาพรวมและจุดเน้นของการจัดการอาชีวศึกษาในบริบทของการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาของเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาอาชีพและการมีงานทำเพื่อแก้ปัญหาความยากจนของผู้คนในพื้นที่ ทั้งนี้การพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาในพื้นที่ดังกล่าวเป็นไปอย่างสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงบริบททางสังคมและภูมิภาค สถานศึกษาอาชีวศึกษา 18 แห่ง เป็นสถานศึกษาที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายในการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยนำยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาใช้ดำเนินงานในพื้นที่ซึ่งอาศัยหลักการบริหารจัดการอาชีวศึกษา 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาระบบทวิภาคี ด้วยยุทธศาสตร์สำคัญ 4 ประการ คือ 1) ขยายโอกาสการเรียนสายอาชีพ 2) สร้างอาชีพและการมีงานทำให้ประชาชนเพื่อสังคมสันติสุข 3) พัฒนาคุณภาพอาชีวศึกษา และ 4) เพิ่มศักยภาพสถานศึกษาและสร้างความปลอดภัย

คำสำคัญ: การจัดการอาชีวศึกษา, จังหวัดชายแดนภาคใต้

 

This article reflects the management of vocational education development of Special Administrative Development Zone in Southern border provinces from the past until the present, especially its beginning, principles, main strategies as well as visions, missions and goals of vocational education management. This article benefits interested persons and stakeholders to understand the overall picture and focuses of vocational education management in the changing context. The management of vocational education development of Special Administrative Development Zone in Southern border provinces emphasizes on future employment and career development in solving poverty problems in the region. Apparently, the development of vocational education in the region corresponds with changes in social context and locality. The 18 vocational education institutes in Special Administrative Development Zone in Southern border provinces play significant roles in driving policies for vocational education management by bringing the royal guidance strategies “understanding, approaching, and developing” and “sufficiency economy approach” into practice with the principles of formal education, non-formal education and dual vocational training systems in following 4 main strategies of 1) expanding vocational education opportunity, 2) creating people’s career and jobs for peaceful society, 3) developing vocational education quality, and 4) increasing potential of colleges and security.

Keywords: vocational educationmanagement, southern border provinces


Full Text:

PDF

References


กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). ประชุมคณะกรรมการเพื่อพัฒนาคนอย่างยั่งยืน. สืบค้นจาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=38093&Key=news2

_______. (2558). นโยบายการศึกษาชายแดนใต้. สืบค้นจาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=38847&Key=newsact

กระทรวงศึกษาธิการ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2556). แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2557-2558. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.พ..

กองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้. (2548). นโยบายเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 200/2548). สืบค้นจาก http://www.thaigov.go.th

ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์. (2557ก). ยกระดับการศึกษาวิชาชีพรองรับประชาคมอาเซียน. สืบค้นจาก http://www.vec.go.th/Default.aspx?TabId=103&ArticleId=1510 .

_______. (8 กันยายน 2557ข). ชงแผน 5 ปีดันไทย ฮับอาชีวะอาเซียน. เดลินิวส์. สืบค้นจาก http://www.dailynews.co.th/Content/education/265149/ชงแผน5ปีดันไทย_ฮับอาชีวะอาเซียน.

ชิดชัย วรรณสถิตย์. (2548). นโยบายเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้. ม.ป.ท.: กองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุข จังหวัดชายแดนภาคใต้.

ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์. (2554). การพัฒนาอาชีวศึกษาสำหรับประเทศไทย. สืบค้นจาก http://www.sueksa.go.th/index.php.

ศูนย์พัฒนาการศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้. (2551). แผนการพัฒนาการอาชีวศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ 2551. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.พ..

_______. (2557). แผนการพัฒนาการอาชีวศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ 2557. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.พ.

สรายุทธ กันหลง, และ สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. (2553). ภาวะผู้นำใฝ่บริการในองค์การ: แนวคิด หลักการ ทฤษฎี และงานวิจัย. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2552). นโยบายการปฏิรูประบบการอาชีวศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา.

_______. (2558). วิสัยทัศน์ พันธกิจ ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาปีงบประมาณ พ.ศ. 2558. สืบค้นจาก http://www.vec.go.th.aspx

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. สืบค้นจาก http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=395

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แนวทางการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปี 2558. เอกสารประกอบการประชุมโครงการขับขับเคลื่อนนโยบายด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ ของกระทรวงศึกษาธิการ, 29 มีนาคม.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2547). นโยบายและแนวทางการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 260/2547. สืบค้นจาก http://www.ryt9.com/s/cabt/153746

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2557). คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สุมาวดี พวงจันทร์. (2558). ยุทธศาสตร์การจัดการอาชีวศึกษาของเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ในทศวรรษหน้า (พุทธศักราช 2558-2567). วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Spears, L. C. (1996). Practicing servant leadership. Leader to Leader Fall, 34, 7-11.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2015.26

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus