ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะของพระสงฆ์ในเขตจังหวัดนครปฐม
Abstract
1. พระสงฆ์ในจังหวัดนครปฐมมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
2. พระสงฆ์ในจังหวัดนครปฐมที่มีอายุ อายุพรรษา และสถานที่ตั้งวัดต่างกัน มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนพระสงฆ์ในจังหวัดนครปฐมที่มีระดับการศึกษาทางโลก ระดับการศึกษาทางธรรม (แผนกธรรม) และระดับการศึกษาทางธรรม (แผนกบาลี) ต่างกัน มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะไม่แตกต่างกัน
3. ปัจจัยทางจิตวิทยาที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะของพระสงฆ์ในจังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านการได้รับการสนับสนุนทางสังคมมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการได้รับอิทธิพลจากสื่อ ด้านการรับรู้ ด้านการเห็นคุณค่าของตนเอง ด้านความเชื่อ และด้านโอกาสในการเลือกบริโภคอาหาร มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด และผลการวิเคราะห์ความตรงของโมเดล พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มีค่า X2=3.64, df=3, p=0.311, GFI=0.997, AGFI=0.974, RMR=0.191, RMSEA=0.0242 โดยตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะของพระสงฆ์ได้ร้อยละ 95.00
The purposes of this study were to 1) examine the dietary habits of Monks in Nakhon Pathom province 2) compare hygienic habits of Monks in Nakhon Pathom province and classify them by individual factors and 3) study the factors affecting the dietary habits of Monks in Nakhon Pathom province. 370 Monks in Nakhon Pathom province were sampled for this study. The instruments used in this research were questionnaires. The statistics used in this research were frequency, percentage, average, standard deviation, Pearson Correlation Analysis and LISREL Analysis for checking the accuracy of models and One-way ANOVA for comparing the average and analysis data by using a statistical package. The results showed that:
1. The overview of hygienic dietary habits of Monks in Nakhon Pathom province was consistent to the mean in all categories of Monks.
2. Monks in Nakon Pathom province who differed in age, years as a Monk and locations of their temple had a statistical difference in hygienic dietary habits at a level of .05. For Monks in Nakon Pathom province who had different types and levels of education such as a secular education, a general religious education (Dharma) and/or a specific religious education (Pali language) had no difference in hygienic dietary habits.
3. Psychological factors affect the hygienic dietary habits of Monks in Nakhon Pathom province. The overview was a moderated level. First, Monks who had social support had the most consistency in obtained scores vis-a-vis the mean. Second, Monks influenced by The Media, those demonstrating a higher level of general knowledge, those who possessed a good level of self-esteem and those Monks with a firm faith and an opportunity to choose food items had a lower than average score. The analysis of model accuracy showed that the model had conformed empirically X2=3.64, df=3, p=0.311, GFI=0.997, AGFI=0.974, RMR=0.191, RMSEA=0.0242. The variables in the model can explained the variance of hygienic dietary habits of Monks at 95.00 percent.
Full Text:
PDFReferences
เครือวัลย์ ปาวิลัย. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์มาตรฐานในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนการศึกษา (บางเขน). วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ดวงกมล วิรุฬห์อุดมผล และคณะ. (2553). ศาสนาอาหารกับการวิจัย. เมโทรโลยี อินโฟร์, 12(55), 24-27.
ธนิกานต์ นับวันดี. (2549). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคผักของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ประภาพร จันทร์เพ็ชร. (2548). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของพระภิกษุที่เข้ารับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลสงฆ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เปรมจิตต์ สิทธิศิริ และสุทิน เกตุแก้ว. (2543). กินอยู่เพื่อสุขภาพ เล่ม1. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.
พุทธชาด นิรุติธรรมธารา. (2546). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับนํ้าหนักตัวของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พุทธทาสภิกขุ. (2537). ตำราดูพระภิกษุ. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.
มัณฑนา หิรัญประดิษฐ์. (2553). พฤติกรรมการฉันอาหารของพระภิกษุสงฆ์ในเขตยานนาวา. วารสารคหเศรษฐศาสตร์, 59(1), 12-17.
โรงพยาบาลสงฆ์ กรมการแพทย์. (2549). โครงการเพื่อพัฒนาสุขภาพของพระสงฆ์-สามเณรให้ยั่งยืนแบบองค์รวม. สืบค้นจาก http://www.priest-hospital.go.th
สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2549). พฤติกรรมการกินของคนไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมพร ลีลาภัทร. (2545). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชาชนในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครปฐม. (2554). จำนวนพระภิกษุ-สามเณร ประจำปี 2554. สืบค้นจาก http://npt.onab.go.th/index.php?article&id
หทัยกาญจน์ โสตรดี และอัมพร ฉิมพลี. (2550). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. งานนิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
อัมพวัลย์ วิศวธีรานนท์. (2551). วิถีของคนรุ่นใหม่: ศึกษากรณีพฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. งานนิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Best, J. W. (1970). Research in Education. New Jersey: Prentice HallInc.
Cusatis, D. C. (1995). Psychosocial Influences on Adolescent Eating Behavior. Dissertation Abstract International, 55, 3825-A.
Feldman, R. H. L. (1983). Communication Nutrition to High School Students in Kenya. The Journal of School Health, 53, 140.
DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2014.30
Refbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus