การศึกษาระดับการรับรู้ ความพึงพอใจ และความคาดหวังต่อนโยบายส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

วิยะดา กูโน

Abstract


การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้ของครู ต่อการกำหนดภารกิจและแผนงานการส่งเสริมการอ่าน การกระตุ้นและการส่งเสริมนโยบายส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) ศึกษาระดับความพึงพอใจของครู ต่อการกำหนดภารกิจและแผนงานการส่งเสริมการอ่าน การกระตุ้นและการส่งเสริมนโยบายส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต 3) ศึกษาระดับความคาดหวังของครู ต่อการกำหนดภารกิจและแผนงานการส่งเสริมการอ่าน การกระตุ้นและการส่งเสริมนโยบายส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง คัดเลือกจากโรงเรียนที่มีแนวนโยบายการส่งเสริมด้านการอ่าน และโรงเรียนที่ได้รับรางวัลการส่งเสริมการอ่านดีเด่น จากหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน คัดเลือกได้เพียง 3 แห่ง คือ โรงเรียนพญาไท จำนวนครู 78 คน โรงเรียนทุ่งมหาเมฆ จำนวนครู 44 คน และโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ จำนวนครู 58 คน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการรับรู้ของครู ต่อการกำหนดภารกิจและแผนงานการส่งเสริมการอ่าน การกระตุ้นและการส่งเสริมนโยบายส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับความพึงพอใจของครู ต่อการกำหนดภารกิจและแผนงานการส่งเสริมการอ่าน การกระตุ้นและการส่งเสริมนโยบายส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ระดับความคาดหวังของครู ต่อการกำหนดภารกิจและแผนงานการส่งเสริมการอ่าน การกระตุ้นและการส่งเสริมนโยบายส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

This research aimed to 1) study teachers’ perception level on determination of a reading promotion mission; plans, stimulation and encouragement of the reading promotion policy to create a lifelong learning society, 2) study teachers’ satisfaction level with a determination of the reading promotion mission, together with the plans, stimulation and encouragement of the reading promotion policy to create a lifelong learning society, 3) study teachers’ expectation level on the determination of the reading promotion mission. Population selected by purposive sampling of the schools had a reading promotion policy and received the Outstanding Reading Promotion Awards from either the state or private agencies. The quantitative sample group consisted of 180 teachers, divided into 78 teachers of Phyathai School, 44 teachers of Thungmahamek School, and 58 teachers of Anubanphibunwes School. The research tools were questionnaires, the statistics used for data analysis were percentage, mean, and standard deviation.
The research results were as follows: 1) The teachers’ perception level on determination of the reading promotion was at a high level. 2) The teachers’ satisfaction level with the determination of reading promotion mission was at a high level. 3) The teachers’ expectation level on determination of reading promotion mission was at a high level.

 


Full Text:

PDF

References


การท่องเที่ยวแห่งประเทศกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. (2555). อัตราการรู้หนังสือ. สืบค้นจาก http://th.aectouismthai. com/tourismhub/416

กิตติพันธ์ อุดมเศรษฐ์, ศรีวรรณ ชุรินทร, และอรัญญา เชียงเงิน. (2554). ผลการใช้แท็บเล็ตพีซี ในการเรียนการสอนวิชา คณิตศาสตร์และวิชาภาษาไทย กับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1. จังหวัดเชียงใหม่: โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย.

ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์. (2542). การอ่านและการส่งเสริมการอ่าน. กรุงเทพมหานคร: ศิลปบรรณาคาร.

ชวรัตน์ เชิดชัย (2527). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสื่อสารมวลชน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฐพร ทองศรี. (2555). ความตั้งใจใช้แท็บเล็ตของครูผู้สอน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา นครศรีธรรมราชเขต 3 การประยุกต์ใช้ตัวแบบการยอมรับเทคโนโลยี. สารนิพนธ์ กศ.ม. วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.

นฤมล ตันธสุรเศรษฐ์ และคณะ. (2555). รายงานการวิจัย การสังเคราะห์เกี่ยวกับการอ่าน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประภาส ศิลปะรัศมี. (2530). ความคาดหวังในบทบาทของ คณะทำงานสนับสนุนการปฏิบัติการพัฒนาชนบท ระดับตำบล: ศึกษาจากทัศนะของคณะทำงานสนับสนุน การปฏิบัติการพัฒนาชนบทระดับตำบล และกรรมการสภาตำบล ในอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พัชนี วรกวิน. (2522). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สถานสงเคราะห์หญิงปากเกร็ด.

รุ่งนภา นรารัตน์กุล. (2550). การวัดระดับการรับรู้ของประชาชน ที่มีต่อนโยบาย 5 ด้านของรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชราภา ดินดำ. (2550). การมีส่วนร่วมของเยาวชนต่อการกำหนด นโยบายการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้: ศึกษากรณี อุทยานการเรียนรู้ต้นแบบ. ปริญญารัฐประศาสนศาสตร

มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ไพฑูรย์ ศรีฟ้า (2554). เปิดโลก Tablet สู่ทิศทางการวิจัย ด้านเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา จากแนวคิดสู่แนวทาง การปฏิบัติ. เอกสารประกอบการบรรยาย ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา, 4 กันยายน.

มงคล ศรีไพรวรรณ. (2532). การพัฒนาสถาบันสำนักงานศึกษาธิการ อำเภอ คู่มือการปฏิบัติงานผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรไทย.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2533). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนทร สุนันท์ชัย. (2543). การศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษา นอกระบบ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

สุมาลี สังข์ศรี. (2544). รายงานการวิจัยการศึกษาตลอดชีวิต เพื่อสังคมไทยในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

อัจฉรา ประดิษฐ์. (2549). รายงานการวิจัยกระบวนการส่งเสริม การอ่านที่ได้ผลในเด็กระดับประถมศึกษาช่วงชั้นปีที่ 1 และ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักอุทยานการเรียนรู้.

อารีรัตน์ จารุทวัย. (2545). ความพึงพอใจของครูผู้สอนวิชา สังคมศึกษาต่อการประเมินคุณภาพการศึกษาด้านการเรียน การสอนในโรงเรียนปฏิรูปการศึกษา สังกัดสำนักงานการ ประถมศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อุดม เชยกีวงศ์. (2551). การส่งเสริมการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัย. กรุงเทพมหานคร: แปลนพริ้นติ้ง.

Pandian, A. (2011). การอ่านหนังสือในมาเลเซีย โครงการส่งเสริม ระดับบุคคลครัวเรือนและโรงเรียน. เอกสารประกอบ การประชุมวิชาการประจำปี 2554 (Thailand Conference on Reading 2011) ของสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ สำนักงานบริหารและ พัฒนาองค์ความรู้ องค์การมหาชน, 24-25 สิงหาคม.

Van Meter, D., & Van Horn, C. (1975). The policy implementation process: a conceptual framework. administration and society, 6(4), 200-217.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2014.26

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus