แนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมด้านสุขภาพเพื่อการเฝ้าระวังโรคติดต่อของผู้ลี้ภัยในศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านถ้ำหิน ตำบลถ้ำหิน อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี

ณัฐพล วันตา

Abstract


การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมด้านสุขภาพเพื่อการเฝ้าระวังโรคติดต่อของผู้ลี้ภัยในศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านถํ้าหิน อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมด้านสุขภาพ เพื่อการเฝ้าระวังโรคติดต่อของผู้ลี้ภัย ตามลักษณะบุคคลในศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านถํ้าหิน อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี 3) เพื่อศึกษาปัจจัยสนับสนุนที่มีผลต่อพฤติกรรมด้านสุขภาพของศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านถํ้าหิน อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี 4) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนา เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านถํ้าหิน อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผู้ลี้ภัยในศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านถํ้าหิน อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มีพฤติกรรมด้านสุขภาพเพื่อการเฝ้าระวังโรคติดต่อ พบว่า 1) ด้านอาหาร ยังมีวัฒนธรรมการกินอาหารที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ 2) ด้านอารมณ์ มีโรคเครียดและโรคซึมเศร้า ทำให้เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 3) ด้านออกกำลังกาย ส่วนใหญ่เชื่อว่าการทำงาน คือ การออกกำลังกาย จึงไม่นิยมออกกำลังกาย 4) ด้านอโรคยา ยังมีโรคภัยไข้เจ็บและโรคติดต่อทั่วไปตามฤดูกาล 5) ด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อม เริ่มมีความตระหนักด้านอนามัย สภาพแวดล้อมแออัด ส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต และ 6) ด้านอบายมุข มีการดื่มสุรา ส่งผลเสียต่อสุขภาพและเกิดการทะเลาะวิวาทอยู่บ่อยครั้ง
2. การวิเคราะห์เปรียบเทียบพฤติกรรมด้านสุขภาพเพื่อการเฝ้าระวังโรค จำแนกตามสถานภาพและข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีภูมิหลังต่างกัน ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส และโรคประจำตัว มีพฤติกรรมด้านสุขภาพเพื่อการเฝ้าระวังโรค ด้านอารมณ์ ด้านออกกำลังกาย และด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม แตกต่างกันทั้งหมด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
3. ผู้ลี้ภัยมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยสนับสนุนที่มีผลต่อพฤติกรรมด้านสุขภาพของศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านถํ้าหิน อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X_=3.64, S.D.=0.54) จำแนกรายด้าน พบว่า มีค่าระดับคะแนนอยู่ในระดับมากมี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการสนับสนุนทางสังคม (X_=3.66, S.D.=0.81) ด้านความเชื่อ (X_=3.76, S.D.=0.38) และด้านการรับรู้ข่าวสารด้านเจตคติ (X_=4.20, S.D.=0.52) ระดับปานกลางมี 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการรับรู้ข่าวสารด้านสุขภาพ อยู่ใน (X_=3.13, S.D.=0.91) และด้านความตระหนัก (X_=3.47, S.D.=0.75) จากผลการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณด้วยวิธี Stepwise พบว่า ตัวแปรด้านความตระหนัก ด้านการสนับสนุนทางสังคม ด้านความเชื่อ ด้านการรับรู้ข่าวสารสุขภาพ และด้านเจตคติ สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมสุขภาพได้ ร้อยละ 55.20
4. แนวทางการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านถํ้าหิน อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ควรเพิ่มทักษะทางด้านภาษาให้กับเจ้าหน้าที่ของศูนย์พักพิง เพื่อง่ายต่อเจ้าหน้าที่ในการให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้ลี้ภัยให้มากยิ่งขึ้น และสิ่งสำคัญอีกด้านหนึ่ง คือ การฝึกอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในการให้ความรู้ด้านสุขภาพและการควบคุมป้องกันโรค

This research is a mixed- methods research aims to 1) study health behaviors on communicable disease prevention of refugees at Thamhin shelter, Suanphung, Ratchaburi 2) compare health behaviors on communicable disease prevention of refugees divided by their individual characteristics, 3) study factors encouraging health behaviors on communicable disease prevention of refugees, and 4) provide suggestions to enhance health behaviors on communicable disease prevention of refugees. 
1. The health behaviors on communicable disease prevention of refugees are divided into 6 aspects: 1) consuming behavior, their traditional way of consuming affecting their health, 2) emotional behavior, the stress and depressive disorder are causes of a suicide, 3) exercising behavior, they believe that working is also a kind of exercises so there is directly no exercise practice among them, 4) disease, there is seasonal communicable diseases, 5) hygiene and environmental health, they aware the hygiene, the ghetto which may affect their health and a life quality, 6) a temptation, there is an alcohol drink among refugees which leads to their health problems, altercation and fray.
2. Comparing their health behaviors on communicable disease prevention divided by gender, men and women refugees have the different health behaviors on communicable disease prevention in terms of disease and temptations. Divided by ages, education, marital status and underlying disease. Those terms can explain that have the different health behaviors on communicable disease prevention.
3. Refugees’ opinions towards factors encouraging health behaviors on communicable disease prevention, they believed that all factors encouraging health behaviors on communicable disease prevention at “a high level” (X_=3.64, S.D.=0.54). Divided by each factor, They believed that the social promotion encouraging health behaviors on communicable disease prevention at “a high level” (X_=3.66, S.D.=0.81), health information encouraging health behaviors on communicable disease prevention at “a moderate level” (X_=3.13, S.D.=0.91), an attitude information encouraging health behaviors on communicable disease prevention at “a high level” (X_=4.20, S.D.=0.52), the belief encouraging health behaviors on communicable disease prevention at “a high level” (X_=3.76, S.D.=0.38), and an awareness encouraging health behaviors on communicable disease prevention at “a moderate level” (X_=3.47, S.D.=0.75). Those can explain behaviors on communicable disease prevention at 55.20 percentages. 
4. Suggestions to enhance health behaviors on communicable disease prevention of refugees are: the language proficiency improvement of officers in the field is needed in order to work with refugees effectively, health promotion campaign and training to refugees are required, and a training course for the officers in the field is recommended.


Full Text:

PDF

References


คณะกรรมการต่างประเทศวุฒิสภา. (2553). รายงานการพิจารณา การศึกษา กรณีปัญหาผู้หนีภัยการสู้รบชาวพม่าใน ประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักเลขาธิการวุฒิสภา.

บรรจง สุทธิประภา, เจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์องค์กร IRC, สัมภาษณ์, 18 พฤศจิกายน 2556.

ราชิน ทองประกายดาว. (2554). การสำรวจจำนวนประชากร ประจำเดือนตุลาคม ศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านถํ้าหิน สวนผึ้ง ราชบุรี. ราชบุรี: องค์กร IRC.

สำนักข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ. (2553). รายงานประจำปี UNHCR Thailand Report. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ.

แอนดรู ยะวัน. (2551). ปัญหาสุขภาพของผู้ลี้ภัยชาวคะเรนนี ในศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านใหม่ในสอย อำเภอเมือง แม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Fishbeic, M. (Ed.), Reading in Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.

Yamane, T. (1970). Statistics: An Introductory Analysis (2nd ed.). ToKyo: John Weatherhill, Inc.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2014.20

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus