ผลการใช้โปรแกรมเพื่อลดความเครียดของเด็กและเยาวชน สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครปฐม

ยุพดี ชิดเดือน, ธีระศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ

Abstract


การวิจัยเพื่อครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโปรแกรมเพื่อลดความเครียดและเพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมเพื่อลดความเครียดของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดนครปฐม และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของเด็กและเยาวชนที่มีต่อโปรแกรมเพื่อลดความเครียดของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในการจัดรูปแบบโปรแกรมเพื่อลดความเครียด 2)โปรแกรมเพื่อลดความเครียด ประกอบด้วย แบบประเมินทักษะชีวิต การตรวจวัดระดับความดันโลหิต การออกกำลังกายแบบโยคะ และออกกำลังกายแบบตาราง 9 ช่อง 3)แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข 4)แบบประเมินความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired-samples t - test) ผลการวิจัยพบว่า
1) โปรแกรมเพื่อลดความเครียดของเด็กและเยาวชนทำให้ความเครียดของเด็กและ เยาวชนลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) โปรแกรมลดความเครียด การเคลื่อนไหวในตาราง 9 ช่อง และการออกกำลังกายแบบโยคะ สามารถลดความเครียดได้ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ประเมินความคิดเห็นของเด็กและเยาวชน ที่มีต่อโปรแกรมเพื่อลดความเครียดของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครปฐมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

คำสำคัญ: ความเครียด โยคะ ตาราง 9 ช่อง เด็กและเยาวชน


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus