การเปลี่ยนรัฐบาลกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลอภิสิทธิ์และรัฐบาลยิ่งลักษณ์
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการเปลี่ยนรัฐบาลที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายปราบปรามยาเสพติด ซึ่งได้ศึกษาเงื่อนไขปัจจัยต่างๆ ที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างในการกำหนด และการปฏิบัตินโยบายดังกล่าวภายใต้รัฐบาลของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ(พรรคประชาธิปัตย์) และรัฐบาลของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) โดยแนวคิดที่เป็นโครงสร้างในการวิจัย ผู้วิจัยได้ใช้แนวคิดบริบททางการเมืองและเศรษฐกิจที่มีผลต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ แนวคิดยุทธศาสตร์ของพรรคการเมืองในการกำหนดและปฏิบัตินโยบาย และแนวคิดความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายการเมืองและฝ่ายบริหารในนโยบายสาธารณะ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวิธีการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก
ผลการศึกษาพบว่า เมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาลจากพรรคการเมืองขั้วตรงข้ามกัน (พรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย) ได้นำไปสู่การกำหนดและการปฏิบัตินโยบายปราบปรามยาเสพติดที่แตกต่างกัน เนื่องจากเงื่อนไขปัจจัยหลักของบริบททางการเมืองและเศรษฐกิจที่แตกต่างกันของช่วงเวลาทั้งสองรัฐบาลบริหารงาน รวมถึงยุทธศาสตร์ที่แตกต่างกันของทั้งสองพรรคในการกำหนดและการปฏิบัตินโยบายปราบปรามยาเสพติด ภายใต้รัฐบาลอภิสิทธิ์นั้น พบว่า ได้เผชิญกับปัญหาวิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองและวิกฤตเศรษฐกิจ จึงทำให้นโยบายปราบปรามยาเสพติดไม่ได้ถูกเน้นให้เป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมในการปกครองบริหาร พรรคประชาธิปัตย์ภายใต้การนำของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จึงมุ่งเน้นไปที่นโยบายด้านอื่นๆ แทน โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่ตกตํ่า และกำหนดยุทธศาสตร์ในการสร้างความพึงพอใจจากประชาชนไปที่นโยบายการศึกษาและเศรษฐกิจเป็นหลัก ดังนั้น นโยบายปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลอภิสิทธิ์ จึงไม่ได้เข้าไปสร้างแรงกดเชิงนโยบายต่อข้าราชการมากนัก นอกจากนี้ รัฐบาลก็ไม่ได้เข้าไปแทรกแซงการแต่งตั้งเลขาธิการ ป.ป.ส. จึงสรุปได้ว่า รูปแบบนโยบายปราบปรามยาเสพติดภายใต้รัฐบาลอภิสิทธิ์มีลักษณะความสัมพันธ์ของการเมืองและการบริหารที่แยกออกจากกัน ในทางตรงกันข้าม ภายใต้รัฐบาลยิ่งลักษณ์นั้น พบว่า ระดับของปัญหาวิกฤติทางการเมืองและเศรษฐกิจบรรเทาเบาบางลง การปราบปรามยาเสพติดจึงถูกจัดวางความสำคัญไว้เป็นนโยบายลำดับต้นเป็นวาระแห่งชาติ จึงแสดงให้เห็นว่า นโยบายนี้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความชอบธรรมให้แก่รัฐบาลพร้อมกับการสร้างความพึงพอใจจากประชาชนด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้รัฐบาลจึงมียุทธศาสตร์ของนโยบายนี้ไปในเชิงการป้องกันควบคู่กับการปราบปราม และยังสร้างแรงกดเชิงนโยบายต่อข้าราชการเป็นอย่างมากในการปฏิบัติตามนโยบาย นอกจากนี้แล้ว รัฐบาลยิ่งลักษณ์ยังได้เข้าไปแทรกแซงการแต่งตั้งเลขาธิการ ป.ป.ส. ซึ่งตรงข้ามกับรัฐบาลอภิสิทธิ์ ดังนั้น ข้อค้นพบที่ได้จึงนำมาสู่การสรุปที่ว่า ในสมัยของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ลักษณะความสัมพันธ์ของการเมืองและการบริหารนั้น ไม่แยกออกจากกันในนโยบายปราบปรามยาเสพติด
This article comes from the research that aims at studying the effect of the change of governmental administration on the change of narcotics eradication policy. In particular, the research examines factors that possibly affect the difference in the formulation and implementation of such policy under Abhisit and Yingluck administrations. The main political concepts used to structure the research are the following: Political and economic contexts within public policy, political parties’ strategies in policy formulation and implementation, and the relationship between politics and administration within public policy. The qualitative research methods used in the study comprise documentary study and in-depth interviews.
The research result and analysis show that the change of governments led by the two different political parties-Democrat and Phueathai-does, in fact, lead to the difference in the drug policy formulation and implementation. The main explanation for such variation consists of different political and economic contexts of the two administrations as well as the variation in the two political parties’ strategies with respect to the policy. Within Abhisit administration, suffering from much political conflict and economic problem, the narcotics eradication policy was not the means to promote the legitimacy of the administration. Instead, the Democrat Party under Abhisit’s leadership put more emphasis on other policy areas, especially the correction of the economic downturn. It garnered public satisfaction from elsewhere, such as education policy and economic policy. The Abhisit administration, therefore, was not keen on pressuring the bureaucracy into strict drug eradication. In addition, the administration did not intervene in the appointment of the Secretary-General of the Narcotics Control Board (NCB). Therefore, this study concludes that the narcotics eradication policy style under Abhisit administration was one where there was a sense of politics and administration separation. In contrast, under Yingluck administration, where there was a lesser degree of political and economic crises, the narcotics eradication was positioned high on the government agenda. It also meant for the policy to be a means of seeking legitimacy for the government, while gathering satisfaction among the electorate. As a result, the administration emphasized both prevention and eradication of drugs; and it put pressure on the bureaucracy to strict implementation of such policy. Also, unlike the Abhisit administration, Yingluck administration appointed the Secretary-General of the Narcotics Control Board.Such research finding leads to the conclusion of this research that there is a commingling of politics and administration within the Narcotics Eradication Policy under Yingluck’s leadership.
Full Text:
PDFReferences
กอบเกียรติ์ กสิวิวัฒน์, รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์, สัมภาษณ์, 27 สิงหาคม 2556.
กุลธน ธนาพงศธร. (2517). หลักการกำหนดนโยบายของรัฐ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์ และคณะ. (2552). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการประเมินผลการปราบปรามยาเสพติดรายสำคัญ ตามนโยบายรัฐบาล. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์บริการวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
________. (2554). การประเมินกระบวนการดำเนินงานแก้ไขปัญหา ยาเสพติดตามปฏิบัติการประเทศไทยเข้มแข็งเอาชนะ ยาเสพติดยั่งยืน ภายใต้ยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกันระยะที่ 3 และแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑลในระยะเร่งด่วน (ยุทธการ 315). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์บริการวิชาการ
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
________. (2555). โครงการประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงาน แก้ไขปัญหายาเสพติด ตามยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะ ยาเสพติด. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์บริการวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
นิด้าโพล. (2553). ความพึงพอใจต่อผลงานของรัฐบาลและนายก รัฐมนตรี. สืบค้นจาก http://nidapoll.nida. ac.th/ main/index.php/en/2012-08-03-08-06-55/106-poll-2553/120-poll-10-2553.
________. (2555). ความพึงพอใจต่อผลงานรัฐบาลและนายก รัฐมนตรี ครั้งที่ 2. สืบค้นจาก http://nidapoll.nida. ac.th/main/index.php/en/2012-08-06-13-57-45/233-poll-20-2555.
เพิ่มพงษ์ เชาวลิต, รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามยาเสพติด, สัมภาษณ์, 2 ตุลาคม 2556.
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, นายกรัฐมนตรี, คำแถลงนโยบาย, 23 สิงหาคม 2554.
โยชิโนริ นิชิซากิ. (2555). การสร้างความมีอำนาจทางศีลธรรม ในชนบทไทย: สงครามปราบปรามยาเสพติดแบบไม่ใช้ ความรุนแรงของ บรรหาร ศิลปอาชา. แปลโดย วริศา กิตติคุณเสรี ใน ประจักษ์ ก้องกีรติ (บรรณาธิการ), การเมืองว่าด้วยการเลือกตั้ง: วาทกรรมและพลวัตรชนบทไทย. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน.
วุฒิพงษ์ เหล่าจุมพล. (2556). การประเมินผลวิเคราะห์การดำเนิน งานตามแผนปฏิบัติการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด อย่างยั่งยืน ปี 2556. เอกสารประกอบ การประชุมเชิง
ปฏิบัติการมอบนโยบายตามแผนปฏิบัติการพลังแผ่นดิน เอาชนะยาเสพติด ระยะที่ 3 ปี 2557. สำนักงาน ป.ป.ส.
สวนดุสิตโพล. (2552). ประเมินผลงาน “รัฐบาลอภิสิทธิ์” รอบ 1 ปี. สืบค้นจาก http://dusitpoll.dusit.ac.th/polldata/2552/2552_141.html
________. (2555). ประเมินผลงานในรอบ 1 ปีของรัฐบาลยิ่งลักษณ์. สืบค้นจาก http://dusitpoll.dusit.ac.th/polldata/2555/25551345949057.pdf
สุรชาติ บำรุงสุข. (5-11 กันยายน 2551). ยุคหลังทักษิณ: สงคราม ยังไม่สิ้นสุด!. มติชนสุดสัปดาห์, หน้า 53.
สำนักข่าวทีนิวส์. (2555). ทักษิณสะเทือนแน่ถ้าศาลอาญาโลก รับสอบคดีฆ่าตัดตอน. สืบค้นจาก http://tnews.co.th/ html/news/46109
สำนักข่าวเนชั่น. (2555). เอแบคโพลล์” เทียบผลงาน 2 รัฐบาล “มาร์ค” คนจำ “ตามล่าทักษิณ-ตั้งผบ.ตร.ล่าช้า” ส่วน “ปู” คนจำ “แก้ยาเสพติด–ปัญหานํ้าท่วม. สืบค้นจาก http://www.suthichaiyoon.com/detail/23715
สำนักข่าว Voice TV. (2554). นโยบายปราบปรามยาเสพติด เพื่อไทย vs ประชาธิปัตย์ vs ภูมิใจไทย. สืบค้นจาก http://shows.voicetv.co.th/intelligence/11705.html
สำนักงาน ป.ป.ส. (2555). สรุปผลการดำเนินงานตามแผน ยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด พ.ศ.2555 ไตรมาสที่ 2 (11 กันยายน 2554-31 มีนาคม 2555).
________. (2556). สำนักปราบปรามยาเสพติด. ผลการปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศประจำปี พ.ศ. 2555.
________. (ม.ป.ป.). ประวัติย่อการจัดตั้งสำนักงาน ป.ป.ส. สืบค้นจาก http://www.oncb.go.th/ONCBStatic Web/document/approved/p1-oncb43.htm
ศูนย์วิชาการด้านยาเสพติด สำนักงาน ป.ป.ส. (2552). กรอบทิศทางการพัฒนาวิชาการวิจัยและองค์ความรู้ด้าน ยาเสพติดระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2554-2556). สืบค้นจาก http://nctc.oncb.go.th/new/ index.php?option=com_content&view= artcle&id=43:2009-05-29-05-13-16&catid=134:2009-05-29-05-05-28&Itemid=120.,0
ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ. (2555). คำสั่งที่ 23/2555. ปฏิบัติการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด อย่างยั่งยืน ปี 2556. 1 ตุลาคม 2555.
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, นายกรัฐมนตรี, คำแถลงนโยบาย, 29 ธันวาคม 2551.
DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2014.24
Refbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus