การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ทะเลบัวแดง ในเขตเทศบาลตำบลเชียงแหว อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

อานิสงค์ โอทาตะวงศ์

Abstract


การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทะเลบัวแดง ในเขตเทศบาลตำบลเชียงแหว เพื่อทดสอบความแตกต่างของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อศึกษาถึงปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทะเลบัวแดงในเขตเทศบาลตำบลเชียงแหว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือประกอบการสัมภาษณ์ ประชากรกลุ่มเป้าหมาย คือ ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลเชียงแหว อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานีจำนวน 340 ครัวเรือน และนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ โดยใช้ระบบโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ (SPSS) ค่าสถิติที่ใช้คือ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าสถิติทางการทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม (T-test) และค่าสถิติการวิเคราะห์ผันแปรทางเดียว (One-Way ANOVA)
ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทะเลบัวแดงอยู่ในระดับตํ่า ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้แก่ อาชีพ รายได้ ระยะทางไปยังทะเลบัวแดง สถานภาพในชุมชน การเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน การใช้ประโยชน์จากทะเลบัวแดง ความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และความตระหนักเกี่ยวกับคุณค่าของแหล่งนํ้าสาธารณะทะเลบัวแดง โดยมีความแตกต่างอย่างมี
นัยสำคัญที่ .05 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนอยู่ในระดับตํ่า โดยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ระยะเวลาอาศัยในชุมชน และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทะเลบัวแดง
ที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ขาดความรู้เกี่ยวความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทะเลบัวแดง ขาดการมีส่วนร่วมต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทะเลบัวแดง ขาดงบประมาณจากหน่วยงานภายนอกในการทำกิจกรรมหรือโครงการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทะเลบัวแดง ไม่สามารถดำเนินการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และท่าเทียบเรือรองรับนักท่องเที่ยวไม่เพียงพอต่อจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น
ทุกปี
ข้อเสนอแนะ ควรเพิ่มช่องทางในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ให้มากยิ่งขึ้น จัดเจ้าหน้าที่ วิทยากร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์มาให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน ควรจัดกิจกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทะเลบัวแดงไปยังชุมชนต่างๆ สร้างท่าเทียบเรือแห่งที่ 2 ที่บ้านเชียงแหว เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์มากยิ่งขึ้น อีกทั้งหน่วยงานราชการในระดับนโยบายควรจัดสรรงบประมาณในการจัดกิจกรรม หรือโครงการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

The study aimed to examine the community participation level in Talay Bua Dang Conservation within Chiang Wae Municipal area and to test the difference of relevant factors, including the learning regarding current problems, obstacles and guidelines to promote Talay Bua Dang Conservation within Chiang Wae Municipal area. This study has been designed as the quantitative research, using the constructed questionnaire to interview 340 household members who lived in Chiang Wae Municipal Area, Kumpawapi District, Udonthani Province. The acquired data from interviewing were analyzed with the computerized program SPSS, whereas the statistical analysis was performed through frequency distribution, percentage, mean and standard deviation, including t-test and one-way ANOVA.
The findings showed that the majority of the Talay Bua Dang Conservation community
participated at a low level. Variables including occupation, income, travelling distance to Talay Bua Dang, community status, community participation in activities, exploitation of
Talay Bua Dang, knowledge on conservation tourism, and awareness about the value of Talay Bua Dang affected the community participation in Talay Bua Dang tourism programs. Result showed the statistically significant difference .05. As for the remaining variables, gender, age, educational levels, number of household members, periods living in the community, and subscribed media channel on tourism conservation news had influenced the community participation in Talay Bua Dang tourism programs with no statistical significant difference.
The main problem and obstacle relating to Talay Bua Dang conservation tourism programs involved accessing conservation tourism news through media, while the majority of information sources provided inadequate knowledge or an accurate understanding about Talay Bua Dang tourism conservation management program. Moreover, the majority of the community members had no desire to participate in Talay Bua Dang tourism conservation.
The findings indicate that the available docking piers are not sufficient enough to service the increasing number of tourists. In addition, the lack of budget support program from outside agencies to promote campaign for Talay Bua Dang tourism conservation cause attempts from development program to be ineffective.
This research recommends more public relations to disseminate more news on tourism conservation as well as assigning the conservation officers, lecturers or field specialists to educate people. Furthermore, there should be more activities to promote Talay Bua Dang conservation tourism in other communities. The second pier at Chiang Wae should be constructed, whereas the government agency as the policy maker should allocate enough budgets to promote tourism conservation campaign.

 


Full Text:

PDF

References


กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2556). บทสรุปสำหรับผู้บริหารนัก ท่องเที่ยวเดือนพฤษภาคม 2556. สืบค้นจาก http://www.tourism.go.th/kb3/uploads/Stat/2144.pdf

ชนิกา จึงวิสิฐธน. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาและ ปรับปรุงลำนํ้าแม่ข่า เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ จังหวัด เชียงใหม่. ปริญญานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต (สิ่งแวดล้อม) มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปรมะ สตะเวทิน. (2526). สื่อมวลชน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพศาล หวังพาณิช. (2556). การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิชย์.

ยุพาพร รูปงาม. (2545). การมีส่วนร่วมของข้าราชการสำนักงบประมาณ ในการปฏิรูประบบราชการ. กรุงเทพฯ: สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วรรณพร วณิชชานุการ. (2540). นิเวศท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเชิง อนุรักษ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

สมชาย ศิริสมฤทัย. (2550). ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม.

สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2545). รัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการพิทักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2556). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนบนเส้นทางสีเขียว กรณีพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สืบค้นจาก http://www.nesdb.go.th/LinkClick.aspx?fileticket=PV%2FUVBWC71E%3D&tabid=210&mid=735

อคิน รพีพัฒน์. (2527). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาชนบทใน สภาพสังคมและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.

อนันต์ ศรีโสภา. (2525). การพัฒนาการทดสอบ. กรุงเทพฯ: จุฬารัตน์.

The International Ecotourism Society. (1990). Oslo Statement on Ecotourism. Retrieved from http://www.ecotourism.org/oslo-statement-on-ecotourism

Klapper, J. T. (1963). The effect of mass communication. Scotland: The Free Press.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2014.6

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus