อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์กร และผู้นำเชิงปฏิรูปที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคล เชิงกลยุทธ์ ของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ

พันทิภา สุวรรณโค

Abstract


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษารูปแบบของวัฒนธรรมองค์กรของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ 2) เพื่อศึกษาระดับผู้นำเชิงปฏิรูปของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ 3) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ 4) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมองค์กรและผู้นำเชิงปฏิรูปที่ส่งผลต่อสรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามจำนวน 180 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอย
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุ 51-60 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุด ประสบการณ์การทำงานตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงานมากที่สุด รูปแบบวัฒนธรรมองค์กรของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบรูปแบบวัฒนธรรมอุตสาหะ ระดับผู้นำเชิงปฏิรูปโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และระดับสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์พบว่า วัฒนธรรมองค์กรแบบเดิมพันด้วยองค์กร สามารถอธิบายสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สมการถดถอย คือ สมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ =0.864+0.762 (วัฒนธรรมเดิมพันด้วยองค์กร) สมการนี้สามารถทำนายสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ได้ ร้อยละ 44.7 (R2=0.447) ผู้นำเชิงปฏิรูป สามารถอธิบายสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สมการถดถอย คือ สมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์=1.269+0.178 (การสร้างแรงบันดาลใจ)+0.429 (การกระตุ้นทางปัญญา) สมการนี้สามารถทำนายสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ได้ร้อยละ 66.8 (R2=0.668)

The objectives of this research were to study 1) the organization culture of The National Cancer Institute, 2) the transformational leadership of The National Cancer Institute, 3) the HR Scorecard of The National Cancer Institute and 4) to study the effect of the organization culture and the transformational leadership on the HR Scorecard of The National Cancer Institute. The quantitative research methodology was applied in this study. The datagathering instruments used in the research were a questionnaire sample of 180 people. A questionnaire was used as the research instrument in this research. To analysis the descriptive statistics of data collected, the researcher used an independent t-test to determine frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s Product Moment Correlation, and multiple regression.
The largest sample were in the 51-60 year old age group, graduated with a bachelor degree, had work experience of more than 21 years and most of them were staff employees or those holding, professional positions. The concept of the organization culture of the National Cancer Institute is a work hard/play hard culture. Overall the level of the transformational leadership and the HR Scorecard were medium. The data analysis results for the HR Scorecard showed that the company culture spirit impacted the HR Scorecard had a regression equation for the HR Scorecard=0.864+0.762 (bearing on company culture) and the percentage of variance explained was 44.7(R2=0.447). The impact of transformational leadership on the HR Scorecard had a multiple regression equation for the HR Scorecard=1.269+0.178 (inspiration)+0.429 (knowledge motivation), and the percentage of variance explained was 66.8 (R2=0.668).


Full Text:

PDF

References


เกรียงไกรยศ พันธุไทย. (2552). อิทธิพลของพฤติกรรมผู้นำ วัฒนธรรมการทำงานในองค์กรและกิจกรรมการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานรัฐวิสาหกิจ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

จงไท เพ็ญแข. (2552). สมรรถนะการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของผู้บริหารตามการรับรู้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ณพลพงษ์ เสาะสมบรูณ์. (2548). วัฒนธรรมองค์การ ค่านิยม ที่มี อิทธิพลต่อความพึงพอใจในชีวิตความเป็นอยู่ของพนักงาน บริษัท ฟอร์ด โอเปอเรชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด. สารนิพนธ์ บธม. (การจัดการ), มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2553). ทฤษฎีองค์กรสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: ดี เค ปริ้น จำกัด.

ปริญดา วิรานุวัตร. (2550). ผลของภาวะผู้นำและการรับรู้ การสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของทีมเรือในกิจการเดินเรือ: กลไกการทำงานที่มีความผูกพัน

ด้านจิตใจเป็นตัวแปร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พงษ์เทพ จันทสุวรรณ. (2554). ภาวะผู้นำ วัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลองค์การของโรงเรียนในสังกัด กรุงเทพมหานคร: ตัวแบบสมการโครงสร้างเล่ม 1. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สถาบัณบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

มัทนา ศรีโยธา. (2550). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรีที่ส่งผลต่อ ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดสกลนคร. มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

มรุพงษ์ แย้มโอฐ. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การ และการแบ่งปันความรู้ระหว่างกันในองค์การ โดยมีความผูกพันต่อองค์การเป็นตัวแปรสื่อ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริรัตน์ ชุณหคล้าย. (2546). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ออฟเซ็กเพรส จำกัด

สารสิน อิ่มโอษฐ์. (2552). วัฒนธรรมองค์การ ลักษณะผู้นำที่มี ประสิทธิภาพ และคุณภาพชีวิตงานตามการรับรู้ของผู้บริหาร ระดับกลางในสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมจินตนา คุ้มชัย. (2553). ศึกษาการเปรียบเทียบวัฒนธรรมองค์การ ที่มีประสิทธิผลขององค์การแบบรัฐวิสาหกิจ ทางการเงินในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Bass, B. M. (1985). Leadership and performance Beyond Expectations. New York: Free Press.

Becker, B. E., Huselid, M. A., & Ulrich, D. (2001). The HR scorecard: linking people, strategy, and performance. Boston, MA: Harvard Business School Press.

Deal, T. E., & Kennedy, A. A. (1982). Corporate cultures: The rites and rituals of Corporate life. Reading, Mass: Addison-Wesley.

Waldman, D. A., Ramirez, G. G., House, R. J., & Puranam, P. (2001). Does Leadership matter? CEO leadership attributes and profitability under conditions of perceived environmental uncertainty. Academy of Management Journal, 44(1), 134-143.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2014.27

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus