การสื่อสารในองค์การของศูนย์ปฏิบัติการโรงแรมศาลายา พาวิลเลียน

วิไลวรรณ ใจทัศน์กุล

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการสื่อสารในองค์การ 2) เปรียบเทียบความแตกต่างของการสื่อสารในองค์การจำแนกตามความแตกต่างของลักษณะทางประชากร 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการสื่อสาร รวมถึงแนวทางพัฒนาการสื่อสารในองค์การของศูนย์ปฏิบัติการโรงแรมศาลายา พาวิลเลียน เป็นการวิจัยแบบผสม (mixed method research) ได้กลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling) จากพนักงานและนักศึกษาฝึกงานของศูนย์ปฏิบัติการโรงแรมศาลายา พาวิลเลียน จำนวน 80 คน และเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling or judgment sampling) จากผู้บริหาร หัวหน้าแผนก และพนักงานระดับปฏิบัติการ จำนวน 13 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นแบบสอบถามประมาณค่า  เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (in dept interview) และการสนทนากลุ่ม (focus group) ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติ t-test และ F-test สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการสื่อสารในองค์การมากที่สุดคือ ด้านผู้ส่งสารและผู้รับสาร พนักงานมีหลักการยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้อง มีความเป็นมืออาชีพ รองลงมาคือ ด้านช่องทางการสื่อสาร ส่วนใหญ่ใช้การสื่อสารแบบเป็นทางการ พนักงานได้รับมอบหมายงานตามลำดับสายบังคับบัญชา และลำดับสุดท้ายคือ ด้านสาร พนักงานใช้ภาษาพูดที่ชัดเจนเข้าใจง่าย เมื่อเปรียบเทียบสภาพการสื่อสารในองค์การ จำแนกตามความแตกต่างของลักษณะทางประชากร พบว่า สภาพการสื่อสารในองค์การไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรค รวมถึงแนวทางพัฒนาการสื่อสารในองค์การ พบว่า ปัญหาเกิดจากประสิทธิภาพและความเหมาะสมของการเลือกใช้ช่องทางการสื่อสาร ข้อเสนอแนะแนวทางพัฒนาการสื่อสารในองค์การ คือ เพิ่มช่องทางการสื่อสารให้พนักงาน ปรับปรุงอุปกรณ์สื่อสารและใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพิ่มสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้ครอบคลุมพื้นที่การทำงาน และมีการประชุมแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับระบบการทำงานของต่างแผนก

The objectives of this research were to study organization communication, to compare the difference of organizational communication by type of personnel, and to study the problems and obstacles of communication, including the development of organizational communication of Salaya Pavilion Hotel and Training Center. The population involved 80 samples of employees, and trainees of Salaya Pavilion Hotel and Training Center used by Stratified Random Sampling. The scope of this research dealt with Mixed Method. Information from a group of 13 employees for qualitative research by purposive sampling or judgment sampling obtained from The President, supervisor of department, and employees at practitioner level. The data was collected by using the constructed questionnaire, in depth interview, and focus group. After the questionnaires were returned, they were analyzed by SPSS (Statistical Package for Social Science). The obtained data was statistically analyzed to compare the difference of organizational communication by type of personnel for qualitative data used by content analysis the results showed that organization communication of Salaya Pavilion Hotel and Training Center was at a high level. The mean of the basic elements of the communication process from high to less levels: messenger, recipients, message and communication channels. When comparing the different conditions in organizational communication and classified according to the nature of the individual differences it was found that organizational communication was not different, which is based on the hypothesis. As a result, there was an improved channel and development of the internet system.

Full Text:

PDF

References


กริช สืบสนธ์. (2538). วัฒนธรรมและพฤติกรรมการสื่อสารองค์การ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กันทลัส ทองบุญมา. (2553). ความพึงพอใจในการสื่อสารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์. รายงานโครงการเฉพาะบุคคล วารสารศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจารี. (2553). การสื่อสารในองค์การ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2542). การสื่อสาร-รณรงค์เชิงยุทธศาสตร์ เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์เน้นการเจาะจงกลุ่มและมีส่วนร่วม. กรุงเทพมหานคร: รั้วเขียว.

บดีศร กษมางกูร. (2551). การสื่อสารและการจัดการทีมงานเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพของ บริษัท ไดเนอร์ส คลับ (ประเทศไทย) จำกัด ในสภาวะการแข่งขัน. รายงานโครงการเฉพาะบุคคล ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พัชนี เชยจรรยา และคณะ. (2541). แนวคิดหลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มณฑล ใบบัว. (2536). หลักและทฤษฎีการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2554). มนุษย์สัมพันธ์และพฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วันทนา ชื่นฤทัย. (2554). การศึกษาแนวทางการพัฒนาการสื่อสารภายในองค์กร กรณีศึกษา: บริษัทโอกิทานิ (ไทยแลนด์) จำกัด. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 2(2), 120-127.

เสนาะ ติเยาว์. (2537). การสื่อสารองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2014.28

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus