คุณสมบัติที่พึงประสงค์ของผู้บริหารท้องถิ่นตามหลักทศพิธราชธรรม
Abstract
การวิจัยเรื่อง คุณสมบัติที่พึงประสงค์ของผู้บริหารท้องถิ่นตามหลักทศพิธราชธรรมและหลักการบริหารยุคโลกาภิวัฒน์ในทัศนะของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง กรณีศึกษาเฉพาะในเขตเทศบาลตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของผู้บริหารเทศบาล ตามหลักทศพิธราชธรรมและหลักการบริหารยุคโลกาภิวัฒน์ในความคิดเห็นของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และศึกษาระดับการให้ความสำคัญของผู้มีสิทธิเลือกตั้งต่อคุณสมบัติของผู้บริหารเทศบาลตามหลักทศพิธราชธรรมเปรียบเทียบกับหลักการบริหารยุคโลกาภิวัฒน์ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามระดับความคิดเห็นของผู้มีสิทธิเลือกตั้งต่อคุณสมบัติของผู้บริหารท้องถิ่นตามหลักทศพิธราชธรรมและหลักการบริหารยุคโลกาภิวัฒน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t – test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One–Way ANOVA) กำหนดค่าความเชื่อมั่นที่มีนัยสำคัญทางสถิติิที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ความแตกต่างของเพศและฐานะทางการเงิน/รายได้ ไม่มีผลทำให้ความคิดเห็นต่อคุณสมบัติของผู้บริหารเทศบาลทั้งสองหลักการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ไม่เป็นไปตามสมมุติฐาน ส่วนอายุ การศึกษา อาชีพ และตำแหน่งทางสังคมในปัจจุบันและในอดีต ที่แตกต่างกัน มีผลทำให้ความคิดเห็นต่อคุณสมบัติของผู้บริหารเทศบาลทั้งสองหลักการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เป็นไปตามสมมุติฐาน
นอกจากนี้ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งยังให้ความสำคัญกับคุณสมบัติของผู้บริหารเทศบาลตามหลักทศพิธราชธรรมมากกว่า คือมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 อยู่ในระดับสำคัญมากและให้ความสำคัญกับคุณสมบัติของผู้บริหารเทศบาลตามหลักการบริหารยุคโลกาภิวัฒน์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 อยู่ในระดับสำคัญมาก เช่นกัน โดยให้ความสำคัญกับเรื่องความซื่อสัตย์ สุจริต และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัวมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.72
คำสำคัญ : คุณสมบัติของผู้บริหารท้องถิ่น ทศพิธราชธรรม โลกาภิวัฒน์
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus