การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเพื่อการศึกษา
Abstract
นับตั้งแต่ช่วงประมาณปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมารูปแบบของสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาที่พัฒนามาจากสื่ออนาล็อก (Analog) ได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นสื่อที่อยู่ในรูปดิจิตอล (Digital) ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาพัฒนารูปแบบของสื่อให้มีขนาดเล็กลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงมีการเชื่อมโยงแหล่งความรู้จากแหล่งต่างๆ ทั่วโลกและทำให้มีองค์ความรู้ในแขนงต่างๆ เพิ่มขึ้น เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยีมัลติมีเดีย เป็นต้น
แนวโน้มการเข่งขันของยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ที่อาศัยความรู้เป็นฐาน การพัฒนาจึงเป็นหนทางที่ทำให้ภาคธุรกิจต่างให้ความสนใจที่จะผลิตสื่อดิจิตอลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อช่วงชิงความได้เปรียบหรือช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาด ภาวการณ์แข่งขันดังกล่าวจึงเป็นโอกาสที่ดีของแวดวงการศึกษาที่จะได้จัดหาสื่อเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาและการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น บทความนี้เป็นการนำเสนอสาระเกี่ยวกับแนวคิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอซีทีเพื่อการศึกษา การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการศึกษา หลักสำคัญของการก้าวสู่ระบบการศึกษาแบบ Virtual Learning Space และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอซีทีเพื่อการศึกษาตลอดจนเป็นการชี้ให้เห็นถึงปัญหาและอุปสรรคของการนำเทคโนโลยีไอซีทีมาใช้เพื่อการศึกษา
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus