เสน่ห์ "บานง" "กูรง" วัฒนธรรมการแต่งกายสตรีมุสลิมชายแดนใต้

สุนีย์ วัฑฒนายน

Abstract


จังหวัดชายแดนใต้ ที่จะกล่าวถึงในที่นี้ หมายถึง จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นจังหวัดที่ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดี ประมาณต้นปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา พื้นที่ดังกล่าวได้ลุกเป็นไฟ เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ มีการปล้นปืนในค่ายทหาร เกิดการเข่นฆ่าไม่เว้นแต่ละวัน โรงเรียนถูกลอบเผาทำลาย ชาวบ้านถูกลอบยิง มีการลอบวางระเบิดเพื่อหวังทำลายชีวิตของทหาร ตำรวจ โดยใช้ยุทธวิธีต่างๆ ที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบในการก่อการร้ายอยู่ตลอดเวลา มีการใช้ระเบิดทั้งชนิดแสวงเครื่องและคาร์บอมบ์อย่างต่อเนื่อง จนชาวบ้านหวาดผวาต้องเรียนรู้และหาวิธีการที่จะดำรงชีวิตให้อยู่รอดอย่างไรให้มีความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวได้จึงทำให้เหตุการณ์บานปลายต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ สื่อมวลชนได้ตีแผ่เรื่องราวที่เกิดขึ้นจนทำให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ในความสูญเสียที่เกิดขึ้นผลพลอยได้ที่ตามมาคือ มีผู้คนรู้จักจังหวัดชายแดนใต้เพิ่มขึ้น ผู้ใหญ่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้การดูแลช่วยเหลือเป็นอย่างดี 

วัฒนธรรมภาคใต้ได้ถูกเผยแพร่ มีการนำเสนอข้อมูลข่าวสารในรูปแบบการทำสารคดีและรูปแบบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับสามจังหวัดชายแดนใต้ มีการแนะนำและหาเหตุจูงใจให้ผู้คนมาท่องเที่ยวซึ่งได้รับความสนใจและเอาใจช่วยให้เหตุการณ์สงบโดยเร็ว ประชาชนทุกจังหวัดในประเทศไทยต่างเห็นอกเห็นใจจนถึงปัจจุบันนี้เหตุการณ์ต่างๆ ก็ยังคงเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ สลับผลัดเปลี่ยนพื้นที่ในสามจังหวัดชายแดนใต้ หากรัฐบาลให้ความสนใจในการแก้ปัญหาดังกล่าวคาดว่าความสงบสุขคงจะกลับมาเหมือนเดิมในเร็ววัน


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus