ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการจัดการความรู้กับผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานขององค์การ: กรณีศึกษากรมคุมประพฤติ
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการจัดการความรู้กับผลสัมฤทธ์ิการดำเนินงานของกรมคุมประพฤติ โดยศึกษาจากตัวแปรกระบวนการจัดการความรู้ 7 ด้าน ได้แก่ (1) การบ่งชี้ความรู้ (2) การสร้างและแสวงหาความรู้ (3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (5) การเข้าถึงความรู้ (6) การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ (7) การเรียนรู้ และศึกษาจากตัวแปรผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานขององค์การ 4 ด้าน ได้แก่ (1) ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียประโยชน์ (2) กระบวนการดำเนินงานภายใน (3) ความคุ้มค่าทางการบริหาร (4) บุคลากรและความสามารถขององค์การ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างประจำของกรมคุมประพฤติ จำนวน 288 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย และใช้สถิติในการวิเคราะห์ผลข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการจัดการความรู้ของกรมคุมประพฤติโดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (X = 3.36 ) 2. ผลสัมฤทธ์ิการดำเนินงานของกรมคุมประพฤติโดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (X = 3.38 ) 3. กระบวนการจัดการความรู้กับผลสัมฤทธ์ิการดำเนินงานของกรมคุมประพฤติมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่อนข้างสูง ค่าสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.748 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
คำสำคัญ : กระบวนการจัดการความรู้, ผลสัมฤทธ์ิการดำเนินงานขององค์การ, กรมคุมประพฤติ
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus