อิทธิพลของการรับรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐตามระบบคุณภาพภายใน
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ ทัศนคติและการมีส่วนร่วมของบุคลากรสายสนับสนุน ที่มีต่อระบบคุณภาพภายใน และศึกษาอิทธิพลระหว่างตัวแปรการรับรู้ ทัศนคติ การมีส่วนร่วมของบุคลากรสายสนับสนุนที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ตามระบบคุณภาพภายใน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในเก็บข้อมูลกับบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง จำนวน 350 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบียงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียรสัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ โดยใช้เทคนิควิธีนำเข้า ผลการศึกษา พบว่า 1) ระดับการรับรู้ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X= 19.62) (X= 3.64) และ (X= 25.36) ตามลำดับ และประสิทธิภาพการดำเนินงานของบุคลากรสายสนับสนุน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X=8.17) 2) ตัวแปรทุกตัวมีความสัมพันธ์ในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Sig. = 0.01) และ 3) การรับรู้ด้านการทำความเข้าใจ ทัศนคติด้านความเข้าใจและความรู้สึกมีอิทธิพลในทางบวกต่อการมีส่วนร่วม การรับรู้ด้านการรับทราบและทัศนคติด้านพฤติกรรมมีอิทธิพลในทางบวกต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของบุคลากรสายสนับสนุน รวมทั้งการมีส่วนร่วมด้านการสนับสนุนข้อมูล และด้านการติดตามประเมินผลมีอิทธิพลในทางบวกต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของบุคลากรสายสนับสนุน
คำสำคัญ : การรับรู้ ทัศนคติ การมีส่วนร่วม ประสิทธิภาพการดำเนินงาน ระบบคุณภาพภายใน
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus