คุณภาพชีวิตในการทำงาน และการรับรู้ความยุติธรรมในองค์กรที่มีอิทธิพล ต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรผ่านความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน มหาวิทยาลัยสายสนับสนุน กรณีศึกษาคณะแพทย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

ปาริชาติ ปานสำเนียง, วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงาน การรับรู้ความยุติธรรมในองค์กร ความผูกพันต่อองค์กร พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กร 2) ศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กร 3) ศึกษาการรับรู้ความยุติธรรมในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กร 4) ศึกษาความผูกพันต่อองค์กรที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน กรณีศึกษาคณะแพทย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน กรณีศึกษาคณะแพทย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 350 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.897-0.904 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์ และทดสอบสมมติฐานการวิเคราะห์ความถดถอยอย่างง่าย

ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพชีวิตในการทำงานมีความอิทธิพลทางบวกกับความผูกพันต่อองค์กร คือ ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงานมีค่า ( = 0.10, p <0.05) ด้านการทำงานร่วมกันและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นมีค่า ( = 0.26, p <0.05) ด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัวมีค่า ( = 0.17, p <0.05) ด้านลักษณะงานที่มีความสำคัญต่อองค์กรมีค่า ( = 0.13, p <0.05) และด้านลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมมีค่า ( = 0.17, p <0.05) 2) การรับรู้ความยุติธรรมในองค์กรมีอิทธิพลทางบวกกับความผูกพันต่อองค์กร คือ ด้านการรับรู้ความยุติธรรมด้านการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน มีค่า ( = 0.41, p <0.05) 3) ความผูกพันต่อองค์กรมีอิทธิพลทางบวกกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรต่อมีค่า ( = 0.48, p <0.05)

คำสำคัญ: คุณภาพชีวิตในการทำงาน การรับรู้ความยุติธรรมในองค์กร พฤติกรรมการเป็นสมาชิก
ที่ดีต่อองค์กร ความผูกพันต่อองค์กร


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus