คุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย

อุมาพรรณ ทรงวิวัฒน์

Abstract


การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณธรรมและจริยธรรม ตลอดจนปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่ ข้าราชการในสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย จำนวน 352 คน ผลการศึกษา พบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านระบบการควบคุมคุณธรรมและจริยธรรม และด้านการอบรมด้านคุณธรรมและจริยธรรมอยู่ในระดับมากทั้ง 2 ข้อ เช่นเดียวกัน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.90 และ 3.49 ตามลำดับ ส่วนผลการวิเคราะห์ระดับคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ผลการวิจัยพบว่า ระดับคุณธรรมของข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.54 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ส่วนใหญ่ จำนวน 6 ด้าน มีค่าเฉลี่ยของระดับคุณธรรมและจริยธรรมอยู่ในระดับมาก เช่นเดียวกัน มีเพียงด้านการบูรณา การเพื่อมุ่งผลสัมฤทธ์ิของงานเพียงด้านเดียวที่อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเรียงลำดับระดับคุณธรรมและจริยธรรมตามค่าเฉลี่ยที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.71 ด้านความซื่อสัตย์สุจริตและความรับผิดชอบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.59 และด้านการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส เปิดเผย และตรวจสอบได้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.58 

ผลการทดสอบสมมติฐานเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับคุณธรรม และจริยธรรมจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ข้าราชการฯ ที่มีอายุแตกต่างกัน มีระดับคุณธรรมและจริยธรรมในภาพรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ข้าราชการฯ ที่มีอายุแตกต่างกัน มีระดับคุณธรรมและจริยธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ในด้านการยึดมั่นและยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้องและความชอบธรรม ส่วนด้านอื่นๆ พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ และพบว่าข้าราชการฯ ที่มีระยะเวลาการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีระดับคุณธรรมและจริยธรรมในภาพรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าข้าราชการที่มีระยะเวลาปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีระดับคุณธรรมและจริยธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ในด้านความซื่อสัตย์สุจริตและความรับผิดชอบ ส่วนด้านอื่นๆ พบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ และพบว่าข้าราชการที่มีประเภทตำแหน่งแตกต่างกัน มีระดับคุณธรรมและจริยธรรมในภาพรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าข้าราชการที่มีประเภทตำแหน่งแตกต่างกัน มีระดับคุณธรรมและจริยธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ในด้านการยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้องและความชอบธรรม ส่วนด้านอื่นๆ พบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ

คำสำคัญ : ข้าราชการ คุณธรรม จริยธรรม


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus