ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในจังหวัดชายแดนใต้

ศิริลักษณ์ คัมภิรานนท์, อัญชนา ณ ระนอง

Abstract


การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความร่วมมือ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความร่วมมือและปัญหาอุปสรรคของความร่วมมือ ตลอดจนข้อเสนอโมเดลของภาครัฐในการสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในจังหวัดชายแดนใต้ เป็นวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ตัวแทนผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานความร่วมมือหรือมีความเกี่ยวข้องในการทำงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ขององค์การภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 48 คน เครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มย่อย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และเชื่อมโยงแนวคิดทฤษฎีต่างๆ

ผลการวิจัยพบว่า ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในจังหวัดชายแดนใต้ โดยภาพรวมมีความต่างกันในประเด็นประเภท และรูปแบบการบริหารความร่วมมือ โครงสร้างและวิธีการทำงานความร่วมมือ ตลอดจนกิจกรรมความร่วมมือ และทุกตัวแปรปัจจัยก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาคส่วน โดยเฉพาะปัจจัยที่มีค่ามากคือด้านผลประโยชน์ร่วมกัน รองลงมาคือ การมีข้อตกลงร่วมกัน การมีเป้าหมายร่วมกัน และการใช้ข้อมูลร่วมกันหรือแลกเปลี่ยนกัน ตามลำดับ ส่วนปัญหาอุปสรรคของความร่วมมือที่มีค่ามากเกี่ยวกับด้านทรัพยากรและกระบวนการบริหารจัดการ รองลงมาคือ ด้านวัฒนธรรมองค์การและความสัมพันธ์ระหว่างองค์การ ด้านโครงสร้างและกลไกการทำงานประสานและการติดต่อสื่อสาร ด้านสมรรถนะของบุคลากรในองค์การ และด้านสภาพแวดล้อมขององค์การ โดยข้อเสนอโมเดลของภาครัฐในการสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในจังหวัดชายแดนใต้มี 9 องค์ประกอบ คือ การมีเป้าหมายร่วมกัน การมีผลประโยชน์ร่วมกัน การมีข้อตกลงร่วมกัน การใช้ข้อมูลร่วมกันหรือแลกเปลี่ยนกัน โครงสร้างและกลไกการทำงานประสานและการติดต่อสื่อสาร ทรัพยากรและกระบวนการบริหารจัดการ วัฒนธรรมองค์การและความสัมพันธ์ระหว่างองค์การ สมรรถนะของบุคลากรในองค์การ และสภาพแวดล้อมขององค์การ

คำสำคัญ: ความร่วมมือ, ภาครัฐ, ภาคเอกชน, ภาคประชาสังคม, จังหวัดชายแดนใต้

 

The purpose of this research was to study inter-sectoral collaboration, factors that facilitate effective collaboration, and problems and obstacles toward successful collaboration. This study proposes a model for government collaboration with the private sector and civil society in the southern border provinces of Thailand. This was a qualitative research study. Data were collected from 48 key informants, including representatives of management and implementing agencies in various sectors of government organizations, the private sector, and civil society organizations working in the southern border provinces. Data were collected by in-depth interview and focus group discussion. Data were processed using content analysis with links to related concepts and theories.

This study found that collaboration between the government, private sector, and civil society in the southern border provinces, in general, differs in terms of type, management model, structure, and implementation methods. A variety of factors contribute to successful collaboration between the sectors but, in order of importance, the most influential factor was the expectation of mutual benefit, followed by mutual agreement, having common goals, and the sharing of information.  The problems and obstacles which threaten effective collaboration include limitations of resources and management processes, followed by discordant culture and relationships between organizations. The structure and mechanism of work, coordination and communication, competency of personnel in the organization, and the contextual environment of the organization can affect the level of success of inter-agency coordination and collaboration. A proposed model for successful collaboration between the government, the private sector and civil society in the southern border provinces of Thailand consists of nine components: (1) Having a common goal; (2) Mutual benefit; (3)  Mutual agreement; (4) Information sharing; (5) Structure and mechanism of coordination and communication; (6) Management resources and processes; (7) Organizational culture and relationships between organizations; (8) Competency of personnel in the organization; and (9) Organizational contextual environment.

Keywords: collaboration, government, private sector, civil society, southern border provinces


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2020.1

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus