การศึกษารูปแบบจักสานภูมิปัญญาพื้นบ้านกระเป๋าจากไม้ไผ่ อำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์

ศมลพรรณ ภู่เล็ก

Abstract


การวิจัยนี้ใช้พื้นที่ในการวิจัยเป็นกลุ่มหัตถกรรมกลุ่มจักสานไม้ไผ่ อ.แม่เปิน จ.นครสวรรค์ และกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านพนาสวรรค์ อ.แม่เปิน จ.นครสวรรค์ เป็นการผสมผสานรูปแบบผลิตภัณฑ์ของกลุ่มจักสานไม้ไผ่ บ้านโนนสมบูรณ์ ผสมผสานกับลายผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านพนาสวรรค์ อำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ และเลือกใช้วิธีแบบการสุ่มแบบเจาะจง จากการศึกษารูปแบบจักสานภูมิปัญญาพื้นบ้าน กลุ่มหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ บ้านโนนสมบูรณ์ เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากไม้ไผ่ อ.แม่เปิน จ.นครสวรรค์ พบว่า มีผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่หลากหลายประเภทและรูปแบบสามารถแบ่งออกได้ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ประเภทเครื่องมือทำมาหากิน กลุ่มที่ 2 ประเภทเครื่องครัว กลุ่มที่ 3 ประเภทของใช้ในบ้าน กลุ่มที่ 4 ประเภทใช้งานพิธีการ กลุ่มที่ 5 ประเภทของที่ระลึก อัตลักษณ์ที่พิเศษของท้องถิ่น อ.แม่เปิน จ.นครสวรรค์ คือ ลวดลายจักสานไม้ไผ่ทั้ง 7 ลาย นอกจากนี้ จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ในตำบล คือ เลือกใช้สีจากธรรมชาติจากไม้ไผ่ และเพิ่มขั้นตอนกรรมวิธีการผลิตใช้เส้นตอกขนาดเล็กสร้างความถี่และความแน่นของเส้น เสริมความแข็งแรงทนทานของผลิตภัณฑ์ รวมถึงกรรมวิธีการต้มไม้ไผ่โดยไม่ใช้สารเคมี ที่สำคัญเป็นวิธีธรรมชาติ เพื่อยืดอายุการใช้งานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ จากการศึกษาลายผ้าทอย้อมสีธรรมชาติ บ้านพนาสวรรค์ อ.แม่เปิน จ.นครสวรรค์ พบว่า มีลวดลายผ้าทอ ทั้งหมด 9 ลาย ซึ่งแบ่งออกเป็นลายผ้าทอมัดหมี่ (ที่มาจากภาคอีสาน จ.ขอนแก่น) จำนวน 7 ลาย ผ้าทอพื้นบ้านพื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์แม่เปิน จำนวน 1 ลาย ผ้าทอพื้นบ้านสู่ผ้าทอพื้นเมืองไหมอีรี่ (การมัดหม่อน) จำนวน 1 ลาย

นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังได้ทำการศึกษารูปแบบจักสานภูมิปัญญาพื้นบ้านกระเป๋าจากไม้ไผ่ อำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์นี้ มีวัถตุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบจักสานภูมิปัญญาท้องถิ่น หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ประเภทกระเป๋าจากวัตถุดิบไม้ไผ่ 2) เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากไม้ไผ่ โดยให้กลุ่มชาวบ้านได้จัดทำออกแบบผลิตภัณฑ์และวางจำหน่ายเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตในการสร้างผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าตัวผลิตภัณฑ์และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงทั้งทางด้านความสวยงาม ประโยชน์ใช้สอยที่มีคุณภาพ โดยผู้วิจัยได้มองเห็นรูปแบบจักสานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น เนื่องจากในชุมชนยังไม่มีผลิตภัณฑ์ประเภทกระเป๋า เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากไม้ไผ่ วิเคราะห์และประเมินผลการออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชนที่มีความเชี่ยวชาญด้านหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ ผู้นำชุมชนกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านพนาสวรรค์ และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ เพื่อให้งานพัฒนารูปแบบกระเป๋าจากวัตถุดิบไม้ไผ่เป็นที่ยอมรับของคนในพื้นที่และจังหวัด

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากไม้ไผ่นั้นจากการศึกษาความพึงพอใจของผู้สนใจผลิตภัณฑ์ สรุปได้ว่าระดับความพึงพอใจของผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์กระเป๋าไม้ไผ่ทั้ง 3 ประเภท 9 ชิ้น โดยเลือกแบบที่ผู้บริโภคและผู้เชี่ยวชาญพึงพอใจมากที่สุด คัดเลือกเหลือ 3 ชิ้น ดังนี้ กระเป๋าจักสานไม้ไผ่ ประเภทกระเป๋าถือแบบที่ 3 ได้รับความพึงพอใจที่ 4.11 อยู่ในระดับมาก กระเป๋าจักสานไม้ไผ่ ประเภทกระเป๋าสะพายได้รับความพึงพอใจที่ 4.15 อยู่ในระดับมาก แบบที่ 1 ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก กระเป๋าจักสานไม้ไผ่ ประเภทกระเป๋าสตางค์แบบที่ 1 ได้รับความพึงพอใจที่ 4.06 อยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ: จักสานภูมิปัญญาท้องถิ่น, ผลิตภัณฑ์กระเป๋า, ไม้ไผ่, ผ้าทอ

 

This research has two area groups as a handicraft group, bamboo weaving group, Mae Poen District, Nakhon Sawan Province, and Ban Phana Sawan natural dyeing fabric group, Mae Poen District, Nakhon Sawan Province. It is a combination of product styles of the Ban Somboon bamboo weaving group combined with the fabric pattern that is the identity of Baan Phana Sawan Natural Dye Weaving Group, Mae Poen District, Nakhon Sawan Province. The research methodology was choosing the purposive method. The purposive sampling is the method that the study of the folk wisdom pattern of the Ban Somboon weaving patterns, Bamboo Weaving Group, to design bamboo bag products from Mae Poen District, Nakhon Sawan Province. There are various types and styles of bamboo wicker products. It can be divided as follows: Group 1) livelihood tools, group 2) kitchen utensils, group 3) household items, group 4) use for ceremonies and group 5) souvenir types. The unique identity of the locality in Mae Poen District, Nakhon Sawan Province, is the 7 bamboo weaving patterns. Also, the highlight of the product in the district is the selection of natural colors from bamboo and increase the production process by using small hammer lines to create the frequency and tightness of the strands to enhance the strength of the product. Including the process of bamboo boiling without using chemicals Important as natural methods to extend the life of bamboo products. The study of natural dyed woven fabric pattern Ban Phana Sawan, Mae Poen District, Nakhon Sawan Province, was found that there ware 9 woven patterns. The 11 woven patterns include 7 patterns of Mudmee woven pattern (originating from Isan, Khon Kaen Province), a pattern of the local folk weaving that is unique to Mae Poen and a pattern of the local weaving to the local Erie silk weaving.

This research is also studying the indigenous wisdom from Mae Poen District, Nakhon Sawan Province, which has two objectives: 1) to study the pattern of indigenous wisdom weaving OTOP, to design the fashion bamboo bag products. 2) To increase the value of fashion bamboo bag products by allowing villagers to create, design, and distribute products for the benefit of the manufacturers in creating the One Tambon One Product (OTOP) to increase product value and can be used for daily use both in terms of beauty and quality utility. In which the researcher opinion of woven pattern that is unique to the locality because the community does not have a bag product yet. To guide the design of fashion bamboo bag products, the analysis and evaluate the design by various experts, consisting of community leaders with expertise in bamboo handicrafts, the community leader of Baan Phana Sawan Natural dyeing fabric group and design experts in order to make the development of bag styles from bamboo raw materials acceptable to the people in the area and province.

The result of the research shows that the bamboo bag product model is based on the study of the satisfaction of those interested in the product. The satisfaction level of those who are interested in the products that affect those who are interested in all 3 types of bamboo bag products, 9 pieces, that choosing by the consumers and experts are most satisfied with. There are 3 pieces are the most satisfaction level  as follows: The satisfaction level of Bamboo woven bag as Handbag type 3 is 4.11, it is at a high-level. The satisfaction of woven bag as shoulder bag type 1 is 4.15, it is at
a high level. The satisfaction level of Bamboo woven bag as wallets type 1 is 4.06, it is at a high level.

Keywords: indigenous wisdom basketry, bag products, bamboo, woven fabric


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2020.7

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus