การศึกษาความผสานของพื้นที่ต่อเมืองและความสามารถในการเข้าใจเมืองของย่านซอยท่าน้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพมหานคร

ปณัฐพรรณ ลัดดากลม

Abstract


บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย รูปแบบเชิงพื้นที่ของย่านซอยท่าน้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ในการประมวลรูปแบบทางกายภาพและรูปแบบการใช้งานพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่สามารถประยุกต์ใช้ในการทำความเข้าใจพื้นที่ วิเคราะห์ศักยภาพ หรือปัญหาของพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนฟื้นฟูพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของตำแหน่งย่านซอยท่าน้ำเจ้าพระยาที่มีความสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของเมืองและย่าน รวมทั้งผู้ใช้งานสามารถเข้าสู่พื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาโดยไม่หลงทางได้หรือไม่ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของรูปแบบการใช้งานพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา จากการวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่างของย่านซอยท่าน้ำเจ้าพระยาด้วยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์ความผสาน และค่าสัมประสิทธิ์ความสามารถในการเข้าใจเมืองที่คำนวณด้วยเครื่องมือและเทคนิคทางสัณฐานเมือง Space Syntax

ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ย่านซอยท่าน้ำส่วนใหญ่มีค่าสัมประสิทธิ์ความผสาน มากกว่า 0.5 และเข้าใกล้ 1 ในระดับเมืองและย่านที่ซอยท่าน้ำนั้นตั้งอยู่ ซึ่งอธิบายได้ว่า ซอยท่าน้ำมีความสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของเมืองและย่านที่ซอยท่าน้ำนั้นตั้งอยู่ ส่วนค่าสัมประสิทธิ์ความสามารถในการเข้าใจเมือง พบว่าในระดับเมืองพื้นที่ย่านซอยท่าน้ำส่วนใหญ่มีค่าสัมประสิทธิ์น้อยกว่า 0.5 จึงถือว่าไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สามารถอธิบายได้ว่าหากมีการเข้าใช้งานพื้นที่ย่านซอยท่าน้ำ ผู้ใช้งานอาจหลงทางและไม่สามารถรับรู้ถึงตำแหน่งของพื้นที่ย่านซอยท่าน้ำที่นำไปสู่การจดจำในการเข้าถึงพื้นที่ หรือไม่สามารถเข้าใช้งานได้จากคนทุกกลุ่ม ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากพื้นที่ย่านซอยท่าน้ำแต่ละแห่งไม่ได้ถูกออกแบบให้เป็นส่วนหนึ่งของเมืองตั้งแต่แรก และพื้นที่ริมน้ำก็ไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ อีกทั้งพื้นที่ริมน้ำส่วนใหญ่อยู่ลึกจากถนนเส้นหลักทำให้ไม่สัมพันธ์กับโครงข่ายการสัญจรของเมืองอย่างเป็นระบบ

คำสำคัญ: ความผสานของพื้นที่, ความสามารถในการเข้าใจเมือง, สเปซซินแทค, ย่านซอยท่าน้ำเจ้าพระยา

 

With a goal to consolidate information and understand spatial characteristics, capacities and challenges for restoration of old Chao Phraya riverside areas corresponding to their contextual configuration, this abstract summarizes a spatial study conducted in an old neighborhood of Chao Phraya riverside alley area in Bangkok, Thailand. The study observes configuration of the riverside alley area for city and region synergy, intelligibility and particularly critical spatial cognition based on interactions of sample group demonstrating in synergistic and intelligibility coefficients generated by space syntax tools and techniques.

This study revealed that most Chao Phraya riverside alley having synergistic coefficient value over 0.5 or nearly 1.0 at city and the alley locality. This demonstrates positive alley’s synergy as to the city and its riverside neighborhood. However, its insignificant intelligibility coefficient value under 0.5 at the city level exhibits possible disorientation, absence in spatial cognition or difficult accessibilities by majority of commuters. These partially due to its unintegral traditional configuration and static riverside physicality in addition to distance from main streets resulting in unsystematic intelligibility to Bangkok transportation network.

Keywords: synergy, intelligibility, space syntax, Chao Phraya riverside alley areas


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2020.19

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus