การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนด้วยสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ วิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง ซอฟต์แวร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

พิชญ์ ภูเขียว, สุมาลี ชัยเจริญ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนด้วยสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์วิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง ซอฟต์แวร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านตรมไพร จำนวน 36 คน ใช้รูปแบบการวิจัยก่อนการทดลอง แบบกลุ่มเดียวทดสอบหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณที่ได้จากแบบวัดการคิดวิเคราะห์ โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์การคิดวิเคราะห์ โดยใช้การวิเคราะห์โปรโตคอล สรุปตีความ และบรรยายเชิงวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า การคิดวิเคราะห์ของนักเรียน มีค่าคะแนนเฉลี่ย 11.39 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.69 คิดเป็นร้อยละ 80.56 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมดและผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และผลการคิดวิเคราะห์ที่ได้จากการสัมภาษณ์นักเรียน พบว่า การคิดวิเคราะห์ของนักเรียน มี 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) ความสามารถจำแนก แยกแยะประเภทของซอฟต์แวร์ และสามารถระบุเกณฑ์ได้ 2) ความสามารถในการระบุความสัมพันธ์เชิงเหตุผล เช่น หาสาเหตุของอาการซอฟต์แวร์ได้ 3) ความสามารถในการจัดหมวดหมู่ซอฟต์แวร์ใช้งานและสามารถระบุเกณฑ์ เช่น ลักษณะการใช้งาน

คำสำคัญ: สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่าย, คอนสตรัคติวิสต์, การคิดวิเคราะห์, ซอฟต์แวร์

 

The purpose of this research was to study analytical thinking of students learning with constructivist web-based learning environment to enhance analytical thinking. Target group was 36 students at Tromprai School. The pre-experimental design, one-shot case study was employed in this study. Both qualitative and quantitative data were collected and analyzed.

The results revealed that: The analytical thinking of the students was, X_=11.39, S.D.=1.69, and 80.56% students of total number of them, obtained score passing criterion 70% of both the number of students and the score. In addition. The result of the interview showed that the analytical thinking of the students revealed 3 aspects as follows: 1) Identify to distinguish types of software and can explain the criteria, 2) Describe the causal relationship of the symptoms of the software, 3) The students was ability to categorize groups of software and can specify criteria such as usage characteristics.

Keywords: web-based learning environments, constructivist, analytical thinking, software


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2020.5

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus