ทัศนคติ แรงจูงใจ และความชื่นชอบในการบริโภคสื่อของนักศึกษาที่มีพฤติกรรมการแต่งกายเลียนแบบสื่อบันเทิงเกาหลี

พงษ์ทัช จิตวิบูลย์, เกษตรชัย และหีม

Abstract


การวิจัยนี้มุ่งแสวงหาความจริงด้วยกระบวนทัศน์แนวปรากฏการณ์วิทยา โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (mixed method) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติ แรงจูงใจ และความชื่นชอบในการบริโภคสื่อของนักศึกษาที่มีพฤติกรรมการแต่งกายเลียนแบบสื่อบันเทิงเกาหลี ผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย นักศึกษาที่มีพฤติกรรมการแต่งกายเลียนแบบสื่อบันเทิงเกาหลี จำนวน 8 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมเกาหลี จำนวน 2 คน คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง (purposive sampling) เก็บข้อมูลด้วยการสังเกต พูดคุย และสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (in-depth interview) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการจัดหมวดหมู่ตามประเด็นปัญหาการวิจัย และวิเคราะห์เนื้อหา โดยใช้หลักตรรกะเทียบเคียงแนวความคิด ทฤษฎี และงานวิจัยควบคู่บริบท ผลการวิจัยพบว่าทัศนคติ แรงจูงใจ และความชื่นชอบในการบริโภคสื่อมีส่วนช่วยให้นักศึกษามีพฤติกรรมการแต่งกายเลียนแบบตามสื่อบันเทิงเกาหลีมากขึ้น เนื่องด้วยการเปลี่ยนผ่านของช่วงเวลา การแพร่หลายของสื่อและระบบทุนนิยม ล้วนเป็นตัวเร่งในการสร้างอัตลักษณ์ให้กับวัยรุ่น และระบบคุณค่าใหม่ให้กับสังคม ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการทำความเข้าใจพฤติกรรมการเปิดรับสื่อ และลักษณะค่านิยมอันพึงประสงค์ในวัฒนธรรมเกาหลีของกลุ่มวัยรุ่นอย่างสมดุล

คำสำคัญ: พฤติกรรมการเลียนแบบ, การแต่งกาย, สื่อบันเทิงเกาหลี

 

This is a qualitative study which used a phenomenological research design. It was conducted as part of a mixed method design. The objective was to study the attitudes, motivation and preferences of media consumption that influence students’ practicing cosplay of Korean popular culture. The key informants used in this research consisted of eight students practicing cosplay based on Korean popular culture. Selected by purposive sampling through observation, discussion and in-depth interview, and two Korean cultural experts providing their views on the dressing of imitating Korean entertainment media.  The data were analyzed using classification according to the research problem. Then the data were analyzed by content analysis method. Using logic principles comparable to concept theory and research in context. The results showed that attitudes, motivation and frequency of media consumption contributed to the students’ practicing cosplay of Korean popular culture. Changing times, the influx  of media and capitalism are all catalysts for creating teenagers’ identities and a new value system for society. The results of this study will be beneficial to individuals and related agencies for policy formulation, planning for the development of media exposure and balancing desirable characteristics of Korean teenage culture.

Keywords: imitation behavior, dressing, Korean entertainment media


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2020.18

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus