การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบสร้างสรรค์เชิงหรรษาบนเว็บ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต

สมใจ สืบเสาะ, พัลลภ พิริยะสุรวงศ์

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบการเรียนแบบสร้างสรรค์เชิงหรรษาบนเว็บ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ในการดำเนินงานวิจัยได้พัฒนารูปแบบขึ้นโดยผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 17 ท่าน ใช้วิธีการกำหนดคุณสมบัติตามประสงค์ (Purposive Sampling) ในปีการศึกษา 2554

ผลการประเมินพบว่า การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบสร้างสรรค์เชิงหรรษาบนเว็บ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลักได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้า (Input factors) 2) กระบวนจัดการเรียนแบบสร้างสรรค์เชิงหรรษาบนเว็บ(Process) 3) การควบคุม (Control) 4) ผลผลิต (Output) 5) ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) โดยมี 12 องค์ประกอบย่อย คือ 1) กำหนดเป้าหมายในการเรียนเชิงหรรษา 2) วิเคราะห์ผู้เรียน 3) ออกแบบเนื้อหาสื่อการเรียนที่ดึงดูดใจ 4) กำหนดกิจกรรมการเรียนตามแนวทางการเรียนแบบสร้างสรรค์เชิงหรรษา 5) เตรียมพื้นที่และสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ 6) กำหนดบทบาทผู้สอน 7) ดำเนินการเรียนตามกระบวนการเรียนแบบสร้างสรรค์เชิงหรรษาบนเว็บ โดยใช้โมเดลอิเลท(ELATE) ซึ่งประกอบด้วย 7.1) ขั้นหรรษา (Entertain) 7.2) ขั้นเรียน (Learn) 7.3) ขั้นยอมรับในความคิด (Accepted idea) 7.4) ขั้นลงมือปฏิบัติ (Take action) 7.5) ขั้นประเมินผล (Evaluate) 8) กิจกรรมเสริมการเรียนรู้เชิงหรรษา 9) การควบคุมและติดตามผลการเรียนของผู้เรียน 10) กำหนดระยะเวลาในการตรวจผลงาน 11) ประเมินผลความคิดสร้างสรรค์จากการเรียน 11.1) มิติด้านจิตใจและบุคลิกภาพ ได้แก่ความอยากรู้อยากเห็นและความเชื่อมั่นในตนเอง 11.2) มิติด้านผลงานสร้างสรรค์ได้แก่ ความแปลกใหม่ ความเหมาะสมในการแก้ปัญหา ความละเอียดลออและการสังเคราะห์ 12) ข้อมูลป้อนกลับเพื่อปรับปรุง ซึ่งผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับเหมาะสมมาก และสามารถนำรูปแบบการเรียนแบบสร้างสรรค์เชิงหรรษาบนเว็บ ไปใช้ในการพัฒนาบทเรียนแบบสร้างสรรค์เชิงหรรษาบนเว็บ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตต่อไป

คำสำคัญ: รูปแบบการเรียนแบบสร้างสรรค์เชิงหรรษาบนเว็บ


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus