คุณลักษณะภาวะผู้นำครูในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Abstract
งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้เป็นแบบกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำครูในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 คน คัดเลือกด้วยวิธีจำเพาะเจาะจงโดยใช้เทคนิคแบบเลือกจากการแนะนำต่อๆ กันไป โดยเลือกจากครูที่มีภาวะผู้นำในการขับเคลื่อนงานของโรงเรียน มีความสามารถในงานวิชาการ สามารถสร้างทีมงานเพื่อนครู ขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีทางด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน สร้างบรรยากาศการทำงานร่วมกันและพัฒนาสัมพันธภาพที่ดีระหว่างโรงเรียนและชุมชน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับการศึกษาเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ครูที่มีภาวะผู้นำในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้มีคุณลักษณะภาวะผู้นำ 4 ด้าน คือ 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการ ผู้ที่มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญและเน้นการอ่านออกเขียนได้ที่เป็นภารกิจที่สำคัญที่สุด 2) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยเน้นการเข้าใจเพื่อนครูเป็นรายบุคคลและกระตุ้นส่งเสริมศักยภาพของเพื่อนครูและการมีทัศนคติเชิงบวก 3) ภาวะผู้นำแบบทีมแบบผู้รับใช้ขับเคลื่อนทีม 4) ภาวะผู้นำเชิงนโยบาย โดยเป็นผู้มีความสามารถในการประสานงานและเจรจาต่อรอง
คำสำคัญ: ภาวะผู้นำครู, สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
This qualitative research is a case study about teacher leadership. This research aimed to study characteristics of teachers leadership in the three southern border provinces. The purposeful selection were 9 key informants by using a selection technique from subsequent recommendations. The teachers selected from teachers who have a core role in driving school work, capable of academic work, creating teamwork of teachers to driving the quality of school education; that is causing good changes of student achievement, collaborative atmosphere and good relationship between school and community. Research instruments were semi-structured interview, including in-depth interview related with documents study. Data were analyzed by using content analysis. The finding found that teachers with leadership in the three southern border provinces had 4 characteristics. 1) Academic leadership; emphasizing the ability to student-centered learning and literacy is the most important mission. 2) Transformational leadership; emphasizing the understanding teacher’s friends individually, stimulate the potential and having a positive attitude. 3) Team leadership had a servant leadership to driving teams. Finally, 4) Policy leadership with the ability to be a coordinator and negotiation.
Keywords: teacher leadership, three southern border provinces
Full Text:
PDFDOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2020.14
Refbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus