ความคิดเห็นของบุคลากรหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและบรรยากาศองค์การที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

บวรรัฐ มาเจริญ, ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน 2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน 3) เพื่อศึกษาบรรยากาศองค์การที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจด้วยแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ บุคลากรของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม มีจำนวนทั้งสิ้น 28 แห่ง มีประชากรที่อยู่ในกลุ่มวิจัยทั้งสิ้น 1,036 คน คำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 289 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์เชิงอนุมาน T-test, F-test, LSD และสมการถดถอยชนิดตัวแปรหลายตัว

ผลการศึกษาพบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) บรรยากาศองค์การโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 4) ปัจจัยส่วนบุคคล จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน อายุงานที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน 5) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยรวมมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน รายด้านพบว่ามีเพียงด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 6) บรรยากาศองค์การโดยรวมมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานรายด้าน พบว่า โครงสร้างองค์การ การได้รับการยอมรับ ความผูกพัน มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ: ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, บรรยากาศองค์การ, ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

 

The objectives of this research were 1) to study about personal factors that affect performance efficiency 2) to study about transformational leadership that affect performance efficiency 3) to study about organizational climate that affect performance efficiency. The research applied survey methodology and the research instrument were the questionnaires. The population was 1,036 employees of personnel in justice organization. The sample size was 289 employees, calculated the sample size by using Taro Yamane method at 95 percent confidence level. Statistics for data analysis were percentage, frequency, mean, standard division, independent sample T-test, F-test, LSD and multiple regression analysis.

The research results revealed that 1) transformational leadership and category aspects were at a high level. 2) organizational climate and category aspects were at a high level. 3) performance efficiency and category aspects were at a high level. 4) personal factors, gender, age, status, education level, job position, age of employment had no effect on performance efficiency.5) transformational leadership had an effect on performance efficiency, when considered by category, individualized consideration had an effect on performance efficiency with a statistically significant level of 0.05. 6) organizational climate had an effect on performance efficiency, when considered by category, organizational structure, recognition, commitment had an effect on performance efficiency with a statistically significant level of .05.

Keywords: transformational leadership, organizational climate, performance efficiency


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2020.8

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus