การพัฒนารูปแบบตัวอักษรไทยมุสลิมด้วยแนวคิดท้องถิ่นภิวัตน์เพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ชาวไทยมุสลิม

ดนุ ภู่มาลี, เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง, สุชาติ เถาทอง

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารในงานออกแบบที่ผ่านการมองเห็นเป็นสำคัญ (visual communication) และลักษณะการใช้งานตัวอักษรที่สามารถสะท้อนอัตลักษณ์ของชาวไทยมุสลิมได้ เพื่อสร้างแนวทางการออกแบบตัวอักษรที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารในงานออกแบบที่ผ่านการมองเห็นเป็นสำคัญที่ต้องการสะท้อนถึงอัตลักษณ์ชาวไทยมุสลิม และเพื่อออกแบบตัวอักษรที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารในงานออกแบบที่ผ่านการมองเห็นเป็นสำคัญที่ต้องการสะท้อนถึงอัตลักษณ์ชาวไทยมุสลิม และเป็นทางเลือกให้นักออกแบบเลือกใช้ได้ตามวัตถุประสงค์

การวิจัยนี้ใช้พื้นที่ในการวิจัยเป็นชุมชนของชาวไทยมุสลิมในอดีตโดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แสดงถึงแนวคิดท้องถิ่นภิวัตน์ในประเทศไทยโดยเลือกจากความเก่าแก่ของศาสนสถานที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายกรุงศรีอยุธยาจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์รวมถึงชุมชนมุสลิมโดยรอบ ตามที่ถูกบันทึกผ่านหลักฐานด้านประวัติศาสตร์ รวมถึงการรวบรวมแนวคิดที่มีความเชื่อมโยงหรือมีอิทธิพลต่อรูปแบบศิลปะอิสลามในประเทศไทย ผู้วิจัยจะใช้แนวคิดท้องถิ่นภิวัตน์เพื่อให้งานออกแบบตัวอักษรแสดงถึงภูมิปัญญาของคนในสมัยก่อน ด้านการวิเคราะห์และประเมินผลการออกแบบผู้วิจัยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบตัวอักษร จำนวน 3 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะอิสลามและด้านศาสนาอิสลาม จำนวน 3 ท่าน ประเมินคุณภาพของผลงานโดยแบบประเมิน

ผลที่ได้จากงานวิจัย คือ ชุดตัวอักษรไทย 2 รูปแบบ ซึ่งประกอบด้วย ชุดตัวอักษรที่สะท้อนอัตลักษณ์ของชาวไทยมุสลิม 2 ชาติพันธุ์ ชุดแรก คือ ชุดตัวอักษร Check Amad (เปอร์เซีย) และชุดตัวอักษร Thai x Islamic (มาลายู) โดยใช้แนวคิดท้องถิ่นภิวัตน์ในการออกแบบเพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ชาวไทยมุสลิมทั้ง 2 ชาติพันธุ์นั้น ผลการประเมินงานออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีความชัดเจนจดจำได้ง่าย มีความสวยงาม สะท้อนถึงชาติพันธุ์เดิมและความเป็นท้องถิ่น โดยตัวอักษรทั้ง 2 รูปแบบเป็นทางเลือกหนึ่งของนักออกแบบที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานออกแบบที่ต้องการใช้สะท้อนอัตลักษณ์ชาวไทยมุสลิมหรือนำไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมตามวัตถุประสงค์ของนักออกแบบ

คำสำคัญ: รูปแบบตัวอักษร, ท้องถิ่นภิวัตน์, อัตลักษณ์, ชาวไทยมุสลิม

 

The purposes of this study were: 1) To study the communication process in visual communication design and typeface usage that can show the identity of Muslims in Thailand. 2) To create a direction for typeface design that can enhance communication in visual communication design to reflect the identity of Muslims in Thailand. And 3) To develop typeface that can enhance communication in visual communication design That wants to reflect identity of Thai Muslim and is an alternative for designers to choose according to their objectives.

The research area is an ancient community of Thai Muslim by purposive sampling selection methods to got the information that represents the localization concept in Thailand by choose from an ancient monastery that has occurred from the late Ayutthaya period to the early Rattanakosin period, as well as the context of Muslim communities and including the concepts that are linked or influenced to the art and design of Islamic art in Thailand. The researcher used localization concept to develop the typeface to show the art of ancient Thai wisdom.

The researcher invited 3 expertise in typeface design and 3 expertise in Islamic arts to evaluate this design project. The result of the research was 2 Thai typeface design with localization concept can reflect Identities of Thai-Muslim, clearly, recognizable and represent the locality. It is an alternative for the designer who needs a job that reflecting Identities of Thai-Muslim or applied according to the designer’s objectives.

Keywords: typeface design, localization, identities, Thai-Muslim


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2019.23

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus