ความคาดหวังและความพึงพอใจของพระนิสิตกัมพูชาต่อการบริหารการศึกษา ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระสุภัณฑ์ ฆี

Abstract


การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความพึงพอใจและความคาดหวังของพระนิสิตกัมพูชาต่อการบริหารจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ 2) เปรียบเทียบความคาดหวังและความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการบริหารจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ กลุ่มตัวอย่างคือพระนิสิตกัมพูชา 84 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าเฉลี่ยสองกลุ่มใช้สถิติ t-test

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคาดหวังโดยรวมต่อการบริหารจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า พระนิสิตคาดหวังด้านหลักสูตรมากที่สุด, รองลงมาคือ ด้านการเรียนการสอน, ด้านผู้สอน, ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอน, และด้านการประเมินผลการรียนตามลำดับ ส่วนความพึงพอใจพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า กลุ่มตัวอย่างพึงพอใจด้านหลักสูตรการเรียนการสอน, ด้านปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอน, และด้านการประเมินผลอยู่ในระดับสูง ด้านผู้สอนอยู่ในระดับปานกลาง และด้านกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับต่ำ เมื่อทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของความคาดหวังและความพึงพอใจ พบว่า ความคาดหวังโดยรวมสูงกว่าความพึงพอใจโดยรวม เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างพระนิสิตกัมพูชามีความพึงพอใจในด้านหลักสูตรการเรียนการสอนมากกว่าความคาดหวัง ส่วนอีก 3 ด้านที่เหลือกลุ่มตัวอย่างมีความคาดหวังมากกว่าความพึงพอใจ

คำสำคัญ : ความคาดหวัง ความพึงพอใจ การบริหารจัดการศึกษา


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus