ผล O-NET ต่ำในชายแดนใต้: ต้นตอของปัญหาและทางเลือกในการจัดการปัญหา
Abstract
ปัญหาผล O-NET ตกต่ำในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาที่เรื้อรังและแก้ไขไม่ได้มาเป็นระยะเวลายาวนาน ผู้ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายมีความพยายามในการแก้ปัญหาแต่ก็ยังไม่สามารถจัดการกับปัญหานี้ได้เนื่องจากต้นตอของปัญหาคือปัจจัยที่เกิดจากภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการล่มสลายของสังคมพหุวัฒนธรรมที่เคยมีมาตั้งแต่ในอดีตจนส่งผลกระทบให้เกิดปรากฏการณ์ทางสังคม เช่น สถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ เป็นต้น ซึ่งหากมองในแง่ทฤษฎีระบบ ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกมักถูกมองว่าไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนแต่ในความเป็นจริงปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกมีผลกระทบค่อนข้างชัดเจนกับระบบการศึกษาเนื่องด้วยปัจจัยนี้เกี่ยวข้องกับสภาพสังคม วัฒนธรรม และศาสนา ซึ่งผูกติดกับวิถีชีวิตของผู้คนในพื้นที่และแผ่อิทธิพลไปถึงความรู้สึกนึกคิดและความคาดหวังในผลลัพธ์ด้านการศึกษาของนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน สำหรับบทความนี้ผู้เขียนได้นำเสนอและอธิบายต้นตอของปัญหาพร้อมทั้งชี้ประเด็นปัญหาที่เป็นผลพวงจากต้นตอของปัญหาเป็น 3 ประเด็น รวมถึงบทวิเคราะห์ที่มีการเชื่อมโยงระหว่างต้นตอของปัญหาและนโยบายของรัฐในการจัดการปัญหาที่ทำให้เกิดคำถามสำคัญ 2 คำถามที่นำไปสู่ทางเลือกหนึ่งในการจัดการปัญหาที่เหมาะสมและสอดคล้องสำหรับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้แห่งนี้ต่อไป
คำสำคัญ: ผล O-NET ตกต่ำ, ต้นตอของปัญหา, ทางเลือกในการจัดการปัญหา, จังหวัดชายแดนภาคใต้
The issue of low O-NET scores in the southern border provinces has been persistent and hard to solve for a long time. Many related officials have been trying to solve such issue, but they are still not able to cope with it. The reason is that the origin of the issue is from the external factors involved with the collapse of multicultural society in the past resulting in many social phenomena such as violence situation in the area etc. In case of theories, the external factor system is always thought that it is not directly relevant to students’ academic achievement. However, in fact the external factors have an impact on the educational system quiet obviously. Because of this, social conditions, culture and religions colligate a way of life of the people in the area and influence the perception and expectation in educational outcome of students, parents and communities. In this article, the writer presents and illustrates the origin of the issue together with some problems that result from the origin of the issue in 3 aspects. Moreover, it is analyzed and related to the government policies in coping with the issue which result in 2 important questions leading to some choices in dealing with the issue appropriately and corresponding to the context of the southern border provinces afterward.
Keywords: low O-NET scores, origin of the issue, alternative in problem management, southern border provinces
Full Text:
PDFDOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2020.22
Refbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus