การดูแลสุขภาพเชิงพื้นบ้าน: กรณีศึกษาชนชาติพันธุ์ลาหู่แดงในจังหวัดเชียงราย

สุนิดา อรรถอนุชิต, รอฮานิ เจะอาแซ

Abstract


การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาปรากฏการณ์วิทยาเพื่อศึกษาการให้ความหมายของสุขภาพ ความเจ็บป่วยและวิธีการดูแลสุขภาพของชนชาติพันธุ์ลาหู่แดงในจังหวัดเชียงราย ผู้ให้ข้อมูลคือชนชาติพันธุ์ลาหู่แดง คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากการถอดเทปสัมภาษณ์เชิงลึกคำต่อคำ การสนทนากลุ่ม การจดบันทึกระหว่างการลงพื้นที่ศึกษาวิธีการดูแลสุขภาพเชิงพื้นบ้านและภาพถ่ายระหว่างการลงพื้นที่ศึกษาวิถีชีวิตของชนชาติพันธุ์ลาหู่แดงในจังหวัดเชียงรายในปี พ.ศ. 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์แก่นสาระ ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบสามเส้า โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ให้ข้อมูล ทฤษฎีและจากรายงานการศึกษาที่เกี่ยวข้อง

ผลการศึกษาพบว่า ชนชาติพันธุ์ลาหู่แดงในจังหวัดเชียงรายให้ความหมายของสุขภาพว่าเป็นภาวะที่ปราศจากโรค สามารถดำรงชีวิตตามปกติ มีสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจและมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และให้ความหมายของการเจ็บป่วยว่าเกิดจากการทำผิดต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชุมชนนับถือ การมีวิถีชีวิตประจำวันที่ไม่เหมาะสม ส่วนระบบการดูแลสุขภาพของชนชาติพันธุ์ ประกอบด้วย 1) ระบบการดูแลสุขภาพพื้นบ้านซึ่งเป็นระบบสุขภาพหลักของชุมชน ได้แก่ พิธีกรรมบำบัด สมุนไพรบำบัด โภชนบำบัด การบำบัดด้วยความร้อน กัวซาบำบัด และการใช้เหรียญฝรั่งประคบ 2) ระบบการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์สมัยใหม่ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้ช่วยให้บุคลากรทางสุขภาพเข้าใจวิถีการดูแลสุขภาพเชิงพื้นบ้านทั้งในมิติที่ทำให้เกิดผลดีต่อสุขภาพและอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เป็นข้อมูลพื้นฐานแก่บุคลากรสุขภาพในการจัดบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมและการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพอันเนื่องมาจากการดูแลสุขภาพจากความเชื่อทางวัฒนธรรม

คำสำคัญ: ชนชาติพันธุ์, การดูแลสุขภาพ, ลาหู่

 

This phenomenological study aims to explain the meaning of health and illness among Lahu indigenous people in Chiangrai province. The ready transcribing qualitative data of 20 informants from Lahu indigenous people and photos during study visit in 2017 were used for qualitative analysis. Thematic analysis was performed to explain the research objectives. Triangulation method was done for validation of trustworthiness of the study.

The results found that the Lahu indigenous people identified health as state of absence of an illness, maintainable of working in daily life, state of having spiritual anchor and social interaction. The Lahu indigenous people meant illness as a result of disrespect of supernatural power, wraiths and predecessors and inappropriate health behaviors in daily life. There were two health care systems in Lahu community which were 1) folk health care system which including of ritual therapy, herbal therapy, nutritional therapy, heat therapy, Guaza therapy and coin therapy 2) modern health care system which is eligible under the Universal Health Care Scheme of Thailand. These results are important for health personals to understand positive and risky folk health care practices which benefit for determination of activities in health promotion and prevention of health hazards due to folk care practice.

Keywords: indigenous people, health care practice, Lahu


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2019.36

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus