ความแตกต่างระหว่างเพศชายและเพศหญิงกับการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์: ศึกษาในแนวทางของทฤษฎี ความกดดันทั่วไป ทฤษฎีการควบคุมตนเอง และทฤษฎีความผูกพันทางสังคม

พิมพ์หทัย สังสุทธิ

Abstract


การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยทางด้านความแตกต่างระหว่างเพศชายและเพศหญิง กับการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์, ศึกษาถึงปัจจัยทางด้าน ความแตกต่างระหว่างเพศชาย และเพศหญิง รวมทั้งปัจจัยทางด้านความกดดันทางการเงิน (Monetary Strain) ปัจจัยทางด้านการควบคุมตนเอง (Self-Control) ปัจจัยทางด้านความผูกพันทางสังคม (Social Bonds) และปัจจัยทางด้านความเชื่อทางสังคม (Belief) ที่มีผลหรือมีอิทธิพลต่อการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์
ของผู้กระทำผิด และเพื่อศึกษาหาแนวทางในการป้องกัน และแก้ไขการกระทำผิดของผู้กระทำผิดดังกล่าว และได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้กระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ในเรือนจำ 4 แห่ง ได้แก่ เรือนจำจังหวัดสมุทรสาคร เรือนจำจังหวัดนนทบุรี เรือนจำพิเศษธนบุรี และทัณฑสถานหญิงธนบุรีจำนวน 340 ราย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธี สถิติพรรณา (Descriptive Statistics) หาความสัมพันธ์แบบ t-test วิเคราะห์ การผันแปร (Analysis of Variance or ANOVA) และวิเคราะห์การจำแนกพหุ (Multiple Classification Analysis or MCA)

ผลจาการศึกษาวิจัยในครั้งนี้พบว่า ปัจจัยทางด้านความแตกต่างระหว่างเพศชาย และเพศหญิงมีความสัมพันธ์กับการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ของกลุ่มตัวอย่าง กล่าวคือกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเพศชายกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์มากกว่าเพศหญิง ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานหรือยอมรับสมมติฐานที่กำหนดเอาไว้ นอกจากนั้นยังพบอีกว่า ปัจจัยทางด้านความแตกต่างระหว่างเพศชาย และเพศหญิง รวมทั้งปัจจัยทางด้านความกดดันทางการเงิน (Monetary Strain) ปัจจัยทางด้านการควบคุมตนเอง (Self-Control) และปัจจัยทางด้านความผูกพันทางสังคม (Social Bonds) โดยเฉพาะความผูกพันกับที่ทำงาน (Workplace Attachment) มีผลต่อการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยปัจจัยทางด้านความแตกต่างระหว่างเพศชาย และเพศหญิง ส่งผลต่อการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ในฐานะตัวแปรร่วม หรือตัวแปรควบคุม (Covariate) ส่วนปัจจัยทางด้านความกดดันทางการเงิน ปัจจัยทางด้านความกดดันทางการเงิน (Monetary Strain) ปัจจัยทางด้านการควบคุมตนเอง (Self-Control) และปัจจัยทางด้านความผูกพันทางสังคม (Social Bonds) ส่งผลต่อการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ในฐานะตัวแปรหลัก หรือตัวแปรในเชิงทฤษฎี (Main Effects) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยที่ตัวแปรทางด้านการควบคุมตนเอง (Self-Control) ส่งผลต่อการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์มากที่สุด รองลงมาคือปัจจัยทางด้านปัจจัยทางด้านความผูกพันทางสังคม (Social Bonds) และปัจจัยทางด้านความกดดันทางการเงิน (Monetary Strain)ตามลำดับ ซึ่งเป็นการยอมรับสมมติฐานที่ได้กำหนดเอาไว้

คำสำคัญ: ความแตกต่างระหว่างเพศชายและเพศหญิง ความกดดันทางด้านการเงิน การควบคุมตนเอง ความผูกพันทางสังคม ความเชื่อทางสังคม ความผูกพันกับที่ทำงาน


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus