ผลของโปรแกรมการกระตุ้นพัฒนาการอย่างมีส่วนร่วมของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต่อพัฒนาการของเด็กอายุ 2-5 ปี
Abstract
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการกระตุ้นพัฒนาการอย่างมีส่วนร่วมของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต่อพัฒนาการของเด็กอายุ 2-5 ปี กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กอายุ 2-5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี จำนวน 122 ราย สุ่มตัวอย่างโดยเลือกศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่งจากจำนวนทั้งสิ้น 3 แห่ง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย และเลือกเด็กที่มีอายุ 2-5 ปี ทุกคนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้งสองแห่งโดยมีเด็กในกลุ่มทดลองและควบคุมเท่ากับ 65 และ 57 คน ตามลำดับ เครื่องมือในการศึกษา ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินพัฒนาการตามแนวปฏิบัติในคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 ค่าความเชื่อมั่นจากผู้สังเกตมากกว่า 0.80 มีความไวและความจำเพาะของเครื่องมือเท่ากับ 96.04 และ 64.67 ตามลำดับ และ 3) โปรแกรมการกระตุ้นพัฒนาการอย่างมีส่วนร่วมของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่พัฒนาจากคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยดัดแปลงโดยการเพิ่มนิทานตามช่วงวัยวิถีมุสลิม และบัตรคำส่งเสริมพัฒนาการเด็กสองภาษา มีดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.83
ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยในกลุ่มควบคุมก่อน โดยเก็บข้อมูลทั่วไป ประเมินพัฒนาการเด็กโดยใช้แบบประเมินพัฒนาการตามแนวปฏิบัติในคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของกระทรวงสาธารณสุข และให้ผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกระตุ้นพัฒนาการตามแนวปฏิบัติของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และประเมินพัฒนาการซ้ำเมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งเดือน หลังจากนั้นดำเนินการทดลองในกลุ่มทดลองโดยการเก็บข้อมูลทั่วไป ประเมินพัฒนาการเด็กโดยใช้แบบประเมินพัฒนาการเดียวกัน และให้ผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกระตุ้นพัฒนาการตามโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเป็นระยะเวลาหนึ่งเดือน ประเมินพัฒนาการหลังการทดลองซ้ำ และวิเคราะห์ประสิทธิผลของโปรแกรมการกระตุ้นพัฒนาการอย่างมีส่วนร่วมของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยใช้สมการประมาณค่านัยทั่วไป
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีพัฒนาการปกติเพิ่มขึ้นหลังจากการกระตุ้นพัฒนาการเป็นระยะเวลาหนึ่งเดือน โปรแกรมการกระตุ้นพัฒนาการอย่างมีส่วนร่วมของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีประสิทธิผลไม่แตกต่างกับโปรแกรมการกระตุ้นพัฒนาการวิธีดั้งเดิมตามแนวปฏิบัติของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
คำสำคัญ: การกระตุ้นพัฒนาการ, ผู้ดูแลเด็ก, พัฒนาการเด็ก, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
The purpose of this quasi-experimental research was to explore the efficiency of the Participatory Developmental Stimulation Program for Care Takers (PDSPCT) on developmental status of 2-5 years old children. The samples comprised of 122 children aged between 2-5 years who studied at child development centers (CDCs) in Kapho District, Pattani Province. Two out of 3 CDCs were randomly selected and divided into an intervention and control groups, then selected all children aged 2-5 years in the intervention and control group enrolled the study. The final sample sizes in the intervention and control groups were 65 and 57 respectively. The study instruments consisted of 1) demographic data questionnaire 2) the Developmental Surveillance and Promotion Manual (DSPM) developed by the Ministry of Public Health with an index of consistency (IOC) and inter-observer reliability was of more than 0.50 and 0.80 respectively, while the sensitivity and specificity of the DSPM was 96.04 and 64.67 respectively 3) the Participatory Developmental Stimulation Program for Care Takers (PDSPCT) modified from the DSPM with a content validity index of 0.83.
Data collection was firstly done among the control group by screening of child development using the DSPM, the stimulation of developmental status of children in the control group was done using the Original Stimulation Program (OSP) developed by the CDCs for one month, then children were screened for developmental status after complete the program using the DSPM. Data collection among the intervention group was done after data collection in the control group was finished. The samples in the intervention group were measured their developmental status using the DSPM, then stimulating of child development was done using the PDSPCT for one month, after complete the program, children in the intervention group were re-measured their developmental status. The efficiency of the PDSPCT was analyzed using the Generalized Estimating Equations.
The results indicated that the rates of normal child development among intervention and control groups have increased after one month of intervention. The efficiency of the PDSPCT and the OSP was not different.
Keywords: developmental stimulation, care takers, child development, child development centers
Full Text:
PDFDOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2019.29
Refbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus