ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่กับพฤติกรรมการสัมผัสบุหรี่ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

กัลยา วิริยะ, ประภาพร ชูกำเหนิด, อังศุมา อภิชาโต

Abstract


การศึกษาเชิงสหสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่ และพฤติกรรมการสัมผัสบุหรี่ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 318 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม จำนวน 4 ชุด ประกอบด้วย ชุดที่ 1 คือ ข้อมูลส่วนบุคคล ชุดที่ 2 คือ ความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ ชุดที่ 3 คือ ทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่ และชุดที่ 4 คือ พฤติกรรมการสัมผัสบุหรี่ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ทดสอบความเที่ยงของแบบสอบถาม ชุดที่ 2 จากค่า KR 20 สำหรับชุดที่ 3 และ 4 จากค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาและหาความสัมพันธ์

ผลการศึกษาพบว่า ความรู้มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับทัศนคติ (p<.01) ความรู้มีความสัมพันธ์เชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพฤติกรรมการสัมผัสบุหรี่ (p<.05) และทัศนคติมีความสัมพันธ์เชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพฤติกรรมการสัมผัสบุหรี่ (p<.01) ดังนั้นการให้นักศึกษามีความรู้และทัศนคติเรื่องบุหรี่ที่ถูกต้องจะช่วยให้นักศึกษามีพฤติกรรมไม่สัมผัสบุหรี่

คำสำคัญ: ความรู้เกี่ยวกับบุหรี่, ทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่, พฤติกรรมการสัมผัสบุหรี่, นักศึกษา

 

This correlation research was aimed to study the relationship between knowledge and attitude of tobacco smoking and exposure tobacco smoking behavior in 318 students at Prince of Songkla University. Collecting data was conducted by 4 questionnaires which were 1) demographic data 2) knowledge of tobacco smoking 3) attitude of tobacco smoking, and 4) exposure tobacco smoking behavior. Content variety of each questionnaire was judged by 3 experts. The reliability of knowledge was used KR 20. Attitude about tobacco smoking, and exposure tobacco smoking behavior reliability were conducted by Cronbach’s alpha coefficient. The data were analyzed using descriptive statistic and correlation.

The results showed that knowledge of tobacco smoking was positive significant relationship to attitude of tobacco smoking (p<.01). Knowledge of tobacco was negatively significant correlation with exposure tobacco smoking behavior (p<.05). Attitude of tobacco smoking was negative significant correlation with exposure tobacco smoking behavior (p<.01). Hence, proper knowledge and attitude of tobacco smoking enhanced students to be no exposure behavior of tobacco smoking.

Keywords: knowledge about tobacco, attitude about tobacco, exposure tobacco smoking behavior, students


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2019.7

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus