ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของบุคลากรในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

กฤติกา เตโช, ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหาค่าระดับภาวะผู้นำ แรงจูงใจ ความผูกพันต่อองค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะผู้นำ และแรงจูงใจที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความผูกพันต่อองค์การที่มีต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจด้วยแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ บุคลากรของอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ในนิคมอุตสาหกรรมบางปู จำนวน 1,371 คน คำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 310 คน สถิติที่ใช้ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์เชิงอนุมาน T-test, F-test และสมการถดถอยชนิดตัวแปรหลายตัว ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลจำแนกตามระดับการศึกษา และอัตราเงินเดือน มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน 2) ภาวะผู้นำ ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และด้านภาวะผู้นำการแลกเปลี่ยน มีอิทธิพลทางบวกต่อความผูกพันต่อองค์การ 3) แรงจูงใจ ปัจจัยจูงใจ ด้านความรับผิดชอบ และปัจจัยค้ำจุน ด้านนโยบายองค์การ ด้านความมั่นคงในงาน มีอิทธิพลทางบวกต่อความผูกพันต่อองค์การ 4) ความผูกพันต่อองค์การ ด้านความผูกพันด้านจิตใจ และด้านความผูกพันด้านการคงอยู่ มีอิทธิพลทางบวกต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ในนิคมอุตสาหกรรมบางปู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ: ภาวะผู้นำ, แรงจูงใจ, ความผูกพันต่อองค์การ, พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ

 

The objectives of this research were 1) to investigate the level of leadership, motivation, organizational commitment and organizational citizenship behavior; 2) to investigate the influence of personal factors, leadership and motivation affecting organizational commitment; and 3) to investigate the influence of organizational commitment affecting organizational citizenship behavior of the employees of the chemical industry. The research applied survey methodology. The research instrument was the questionnaires. The population was 1,371 employees. The sample size was 310 employees, calculated by using Taro Yamane method at 95 percent confidence level. Statistics for data analysis were percentage, frequency, mean, standard deviation, independent sample T-test, F-test and multiple regression analysis. The results revealed that 1) The personal factors, the sample with different education and income differently affected organizational commitment. 2) In terms of leadership, the transformational leadership and transactional leadership affected organizational commitment. 3) In terms of motivation, the motivation factors, responsibility; the hygiene factors, company policies and job security affected organizational commitment. 4) In terms of organizational commitment, the affective commitment and continuance commitment affected organizational citizenship behavior of the employees of chemical industry in Bang Poo Industrial Estate with a statistically significant level of .05.

Keywords: leadership, motivation, organizational commitment, organizational citizenship behavior


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2019.33

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus