องค์ประกอบของระบบพัฒนาครูออนไลน์วิถีพุทธเพื่อเสริมสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ศุภธิดา พรหมพยัคฆ์, สุภาณี เส็งศรี, ชัยยงค์ พรหมวงศ์, มนตรี แย้มกสิกร

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการพัฒนาครูออนไลน์วิถีพุทธเพื่อเสริมสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้วยเทคนิคเดลฟาย (Delphi techniques) จากผู้เชี่ยวชาญในด้าน 1) ด้านการศึกษา 2) ด้านการพัฒนาครู และ/หรือ การอบรมที่เน้นตามแนววิถีพุทธ 3) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน 30 คน จากการสร้างแบบสอบถามความคิดเห็นโดยการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และทำการสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้วยเทคนิคเดลฟายเป็นจำนวน 4 รอบ โดยรอบที่ 1 เป็นคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับองค์ประกอบของระบบพัฒนาครูออนไลน์วิถีพุทธฯ รอบที่ 2 เป็นแบบสอบถามปลายเปิดเพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ พร้อมข้อเสนอแนะเพิ่มเติม รอบที่ 3 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินความสำคัญขององค์ประกอบของระบบพัฒนาครูออนไลน์วิถีพุทธฯ มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (rating scale) เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาระดับความสำคัญหรือความเป็นไปได้ของตัวบ่งชี้ รอบที่ 4 เป็นแบบสอบถามเพื่อยืนยันความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประเมินความสำคัญขององค์ประกอบมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญทบทวนเพื่อปรับเปลี่ยนหรือยืนยันคำตอบ

ผลการวิจัยสรุปว่า องค์ประกอบของระบบพัฒนาครูออนไลน์วิถีพุทธเพื่อเสริมสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก 17 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) บุคลากร ซึ่งประกอบไปด้วย 1.1) ผู้จัดการโครงการ 1.2) วิทยากร 1.3) โค้ช 1.4) ผู้เข้ารับการอบรม 2) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย คือ 2.1) ระบบอินเทอร์เน็ต 2.2) เว็บไซต์ 2.3) เทคโนโลยีคลาวด์ 3) กระบวนการพัฒนาครูวิถีพุทธ ประกอบด้วย 3.1) ขั้นเตรียมการก่อนการพัฒนาครู 3.2) ขั้นพัฒนาครู 3.3) ขั้นติดตามและประเมินผลงาน 4) สื่อ โดยมีองค์ประกอบย่อย คือ 4.1) คู่มือการใช้งานเว็บไซต์ 4.2) คู่มือโค้ช 4.3) คู่มือกิจกรรม 4.4) เนื้อหาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง 5) ปัจจัยสนับสนุน มีองค์ประกอบย่อย คือ 5.1) ด้านสถานที่ สภาพแวดล้อม และบรรยากาศ 5.2) การสนับสนุนจากผู้บริหารของผู้เข้ารับการอบรม 5.3) เทคนิคการเสริมแรง และแรงจูงใจระหว่างการอบรม โดยผู้เชี่ยวชาญให้ระดับความเหมาะสมขององค์ประกอบอยู่ในระดับมากที่สุดทุกองค์ประกอบ และผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกันทุกองค์ประกอบ

คำสำคัญ: ระบบการพัฒนาครูออนไลน์, ครูออนไลน์วิถีพุทธ, เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, เทคนิคเดลฟาย

 

The purpose of this research was to study the elements of the Buddhist-based online teacher development for the enhancement of information and communication technology competency by using Delphi techniques with 30 experts from several fields i.e. 1) Education, 2) Human Development of Buddhist-based Training, and 3) Information and Communication Technology. The experts were asked for 4 rounds as the following details: round 1 was the open-ended questions asking the opinion about the elements of Buddhist-bases online teacher development, round 2 was the closed-ended questions asking the agreement and additional opinion, round 3 was 5 scale rating assessment asking the experts to consider the magnitude or the probability of the indicator, and round 4 was the 5 scale rating assessment for the experts to confirm or adjust the importance the elements.

The result of the research revealed that: There were 5 main elements and 17 sub-elements in Buddhist-based online teacher development for enhancement of information and communication technology as follows; 1) People, which consisted of 4 sub-elements; 1.1) project manager, 1.2) instructor, 1.3) coach and 1.4) participant. 2) Information and communication technology system, which consisted of 3 sub-elements; 2.1) internet system, 2.2) online knowledge source and 2.3) cloud education system. 3) Buddhist-based teachers development process, which consisted of 3 sub-elements; 3.1) teachers preparation, 3.2) teachers development, 3.3) follow-up and assessment. 4) Media, which consisted of 4 sub-elements; 4.1) online knowledge and cloud education system manual, 4.2) coach manual, 4.3) activity arrangement manual and 4.4) digital citizenship knowledge content. And 5) supporting factors, which consisted of 3 sub-elements; 5.1) place and environment support, 5.2) support from participant’s manager and 5.4) power support technique. The experts confirmed that the level of the appropriateness of the elements is at highest level, and had consistent opinions on every element.

Keywords: Online Teacher Development, Buddhist-based Online Teacher, Information and Communication Technology, Delphi techniques


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2018.40

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus