การแสวงหาสารสนเทศเพื่อการทำโครงงานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี

บุณยนุช ดิษกุล, ทัศนา หาญพล, น้ำทิพย์ วิภาวิน

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการทำโครงงานของนักศึกษา 2) เปรียบเทียบการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการทำโครงงานของนักศึกษา จำแนกตามเพศและคณะที่ศึกษา 3) ศึกษาปัญหาในการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการทำโครงงานของนักศึกษา รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 601 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน-มาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการทำโครงงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก ยกเว้น 1 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านการสำรวจเลือกดูสารสนเทศ 2) ผลการเปรียบเทียบนักศึกษาเพศชายและนักศึกษาเพศหญิงมีการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการทำโครงงานโดยรวมไม่แตกต่างกันเกือบทุกข้อ ยกเว้น 1 ข้อ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ การเริ่มต้นแสวงหาสารสนเทศ สำหรับนักศึกษาที่คณะต่างกันมีการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการทำโครงงานโดยรวมไม่แตกต่างกันเกือบทุกข้อ ยกเว้น 2 ข้อ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ การสำรวจเลือกดูสารสนเทศและการจบการแสวงหาสารสนเทศ 3) ปัญหาที่นักศึกษาประสบในระดับมาก คือ สารสนเทศประเภทหนังสือในห้องสมุดมีน้อย อินเทอร์เน็ตช้า/เครือข่ายขัดข้อง และขาดทักษะด้านภาษาอังกฤษ

คำสำคัญ: การแสวงหาสารสนเทศ, โครงงานนักศึกษา, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี

 

The purpose of this study was 1) to study the status of information seeking in conducting research projects 2) to compare information seeking classified by gender and faculty 3) to study problems of information seeking in conducting research projects. The research tool was a questionnaire to survey on 601 samples, while the data analysis made used percentage, mean, standard deviation and t-test.

The findings were as follows 1) students seeked information when conducting research projects at a high level overall, except in the aspect of browsing which was at a moderate level. 2) male and female students were similar overall in information seeking, except in the aspect of staring on information seeking, where there was a significant difference at .05, Students in different faculties were similar overall in the seeking practices, except regarding two aspects with a significant difference at .05 regarding browsing and ending the information seeking 3) The main problems that students encountered were the small number of books available in the university library, slow internet speed/trouble with the network, and lack of English language skills.

Keywords: information seeking, research projects, Prince of Songkla University, Surat Thani Campus


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2018.51

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus