การวิเคราะห์ศักยภาพของผู้ประกอบการรับซื้อผลผลิตยางพารารายย่อยเพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาการค้าในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้

โซเฟีย แวหะมะ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับศักยภาพของผู้ประกอบการรับซื้อผลผลิตยางพารารายย่อยในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ และ 2) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพของผู้ประกอบการรับซื้อผลผลิตยางพารารายย่อย เพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาการค้าในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ การศึกษานี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการรับซื้อผลผลิตยางพารารายย่อย จำนวน 100 ราย โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและสุ่มตัวอย่างแบบโควต้าตามอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างและเจ้าหน้าที่การยางแห่งประเทศไทยในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ทั้งหมดจำนวน 6 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพสรุปเป็นกลุยทธ์ในการพัฒนาการค้า ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพปัจจัยภายในของผู้ประกอบการรับซื้อผลผลิตยางพารารายย่อย มีจุดแข็ง คือ มีตลาดรองรับแน่นอนในการขายผลผลิตยางพารา โดยมีศักยภาพอยู่ในระดับมาก มีจุดอ่อนคือ ตลาดต่างประเทศในการขายผลผลิตยางพารา อำนาจต่อรองกับตลาดที่ส่งผลผลิตยางพาราไปขายต่อ และแหล่งเงินกู้เพียงพอที่ทำให้เกิดสภาพคล่อง โดยมีศักยภาพอยู่ในระดับน้อย มีโอกาส คือ มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างผู้รับซื้อผลผลิตยางพารา และมีการใช้เทคโนโลยีตรวจสอบราคายางพาราได้รวดเร็ว แม่นยำ โดยมีศักยภาพอยู่ในระดับมาก และมีอุปสรรค คือ ภาครัฐมีการสนับสนุนเงินทุน ภาครัฐมีนโยบายและมาตรการในการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ภาครัฐมีการช่วยเหลือสถานที่รับซื้อผลผลิตยางพารา มีสิทธิพิเศษในการลดหย่อนภาษี เช่น ภาษีการค้า ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน และภาษีรายได้ เป็นต้น และภาครัฐมีส่วนในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง พัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น โดยมีศักยภาพอยู่ในระดับน้อย และได้กลยุทธ์ทั้งหมด 6 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) กลยุทธ์การตลาดในชุมชน 2) กลยุทธ์ด้านราคา 3) กลยุทธ์สร้างเครือข่าย 4) กลยุทธ์การพัฒนาตลาดรับซื้อผลผลิตยางพารา 5) กลยุทธ์สนับสนุนสิทธิประโยชน์ทางการค้า และ 6) กลยุทธ์สนับสนุนเงินทุน การยางแห่งประเทศไทยสามารถนำกลยุทธ์ไปประยุกต์ใช้จัดทำโครงการพัฒนาการค้าในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ต่อไป

คำสำคัญ: วิเคราะห์ศักยภาพ, ผู้ประกอบการรับซื้อรายย่อย, ผลผลิตยางพารา, กลยุทธ์พัฒนาการค้า, สามจังหวัดชายแดนใต้

 

The aims of this study were to 1) to assess the potential of small Para rubber buyers in the three southern border provinces 2) to analyze the potential, and to create strategies for the commercial development of small Para rubber buyers in the three southern border provinces. The methodology for conducting this research was mixed methods. The samples were divided into two groups. The first group consisted of 100 small Para rubber buyers selected by using purposive and quota sampling methods from each district Narathiwat. The research instrument was a structured questionnaire. The other sample group was the six marketing experts from Rubber Authority of Thailand in Yala, Pattani and Narathiwat by using purposive sampling method. The instrument used in the research was structured interview. The quantitative data were analyzed by statistics, percentage, mean, and standard deviation. The qualitative data were analyzed in order to develop the commercial strategies. The research found that the internal factors of the small rubber buyers are strong. There is an absolute market for selling the rubber. The potential is at a high level. The weak point is the international market for the production of rubber. The potential of bargaining power with the market to export rubber and the sufficient loan source for market liquidity were at a low level. There is an opportunity to exchange knowledge among rubber buyers. There is also a fast and accurate technology to survey the price of rubber with high potential. The obstacle is the government’s funding support. The government has policies and measures to help continually. The government has assisted rubber farmers by purchasing the rubber from them. The rubber farmers have privileges for tax deductions such as business tax, property tax, land tax and income tax. Although the government has contributed to strengthening the quality of life, the potential is still at low level. There are 6 strategies as follows: 1) marketing strategy in the community 2) price strategy 3) networking strategy 4) strategies for rubber market development 5) strategy to support trade benefits and 6) funding strategies. The Rubber Authority of Thailand can apply strategies to develop trade projects in the Three Southern Provinces.

Keywords: potential analysis, small buyers, Para rubber products, trading development strategies, the three southern border provinces


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2018.48

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus