การศึกษาความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพครูของนักศึกษาครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพครูของนักศึกษาครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพครูของนักศึกษาครู จำแนกตามสาขาวิชา และเกรดเฉลี่ย 3) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพครูของนักศึกษาวิชาชีพครู 4) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพครูของนักศึกษาครู ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาครูที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 263-201 นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา จำนวน 184 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและข้อคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม
ผลการวิจัย พบว่า
- ความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพครูของนักศึกษาครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean=3.41, S.D.=0.52) ด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ และด้านแหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก
- นักศึกษาจากกลุ่มสาขาวิชาต่างกันมีความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพครูของนักศึกษาครูแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยที่กลุ่มสาขาวิชาเอกด้านสุขภาพพลานามัยมีระดับความรู้สูงกว่าด้านภาษา ส่วนนักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยสะสมต่างกันมีความรู้แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
- ดัชนีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพครู เท่ากับ .47 ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความรู้เรียงตามลำดับจากมากที่สุด คือ ด้านการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศ รองลงมาคือ ด้านแนวคิด ทฤษฎี เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ และด้านการออกแบบ การสร้าง การนำไปใช้ การประเมิน ตามลำดับ
- แนวทางในการพัฒนาความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของนักศึกษาวิชาชีพครูที่สำคัญที่สุดของแต่ละด้าน ได้แก่ ผู้สอนควรใช้กรณีศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัญหาการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศ ผู้สอนควรเพิ่มสื่อต่างๆ เกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎี เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา โดยเป็นสื่อที่ผู้เรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเองตลอดเวลา และผู้สอนควรเน้นให้ผู้เรียนผลิตสื่อให้ครบกระบวนการทั้งหมดโดยมีการออกแบบ การสร้าง การนำไปใช้ และประเมิน
คำสำคัญ: นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา, มาตรฐานวิชาชีพครู, นักศึกษาครู
The purposes of this research were 1) to study knowledge in educational innovation and information technology according to the professional standards of pre-service teachers Faculty of Education, Prince of Songkla University 2) to compare knowledge of educational innovation and information technology according to the professional standards of pre-service teachers classified by fields and GPA 3) to study the needs for developing knowledge in educational innovation and information technology, and 4) to propose a process of developing knowledge in educational innovation and information technology. The sample employed in the research were 184 pre–service teachers who enrolled in 263-201 Innovation and Educational Technology course.
The research finding were as follow:
- The knowledge in educational innovation and information technology according to the professional standards of pre-service teachers Faculty of Education, Prince of Songkla University had a moderate evaluation (Mean=3.41, S.D.=0.52). Information Technology and learning resources and learning networks were at a high level.
- The students from different fields had different knowledge levels at statistically significant at the .001 level. The health majors group had a higher level of knowledge than those in the majors. In addition, students with different cumulative GPA had no significant difference in knowledge.
- Index of the needs assessment, it was found that the students’ overall need for developing knowledge in educational innovation and information technology according to the professional standards was .47. The most needed of needs is analyzing the problems arising from the use of technological and information innovation. The second is the theory of technology and innovation, which promotes the development of learning quality and designing, creating implementing evaluating, respectively.
- Approach to develop knowledge in educational innovation and information technology according to the professional standards in each aspect as follows: Instructors should use case study to analyze the problems of using innovation, technology and information, should add media about concepts, theories, technology, and educational innovations. With these media, learners can learn by themselves anywhere and anytime. The instructors should teach learners to complete the whole process when producing media. This process is designing, creating, implementing, and evaluating.
Keywords: educational innovation and information technology, professional standards of teacher, pre-service teachers
Full Text:
PDFDOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2018.41
Refbacks
- There are currently no refbacks.
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus