ชุมชนในพื้นที่ความรุนแรง: ว่าด้วยการยึดเหนี่ยวทางสังคมของชุมชนในอำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี

เอกรินทร์ ต่วนศิริ

Abstract


บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งจากรายงานโครงการวิจัยเรื่องกระบวนการสร้างการยึดเหนี่ยวทางสังคม (social cohesion) เพื่อใช้ในการพัฒนาและลดความขัดแย้งโดยองค์กรชุมชนและองค์กรภาคประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื้อหาของบทความนี้ต้องการกล่าวถึงกระบวนการสร้างความกลมเกลียวทางสังคมท่ามกลางเหตุการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งภายในหน่วยของสังคมทุกๆ ระดับภายใต้โครงการเสริมสร้างโอกาสผสานความร่วมมือ เปิดมิติทางปัญญาของชุมชน ณ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี ที่ออกแบบและดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการที่โครงการใช้ในการฟื้นฟูและสร้างความกลมเกลียวทางสังคม และ 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของกระบวนการที่มีต่อการยึดเหนี่ยวทางสังคม โดยอาศัยระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (mixed method) ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ บทความชิ้นนี้เสนอว่า การทำโครงการในลักษณะดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญยิ่งในการสร้างการยึดเหนี่ยวทางสังคมซึ่งเป็นดั่งตาข่ายที่รองรับความรุนแรง เป็นเงื่อนไขที่นำไปสู่การร่วมไม้ร่วมมือในการแก้ไขความขัดแย้ง และส่งผลต่อความยั่งยืนของสันติภาพที่เกิดขึ้นได้ในที่สุด ซึ่งหลังการดำเนินโครงการ พลวัตของการสร้างการยึดเหนี่ยวทางสังคมพัฒนาไปในทิศทางบวกในหลายมิติทั้งในระดับกลุ่ม กล่าวคือ โครงการเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสายสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างคนภายนอก (คณะผู้จัดโครงการ) กับคนภายในชุมชน และเป็นจุดเริ่มต้นของการสานสายสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ และในระดับปัจเจก กล่าวคือ โครงการสามารถเปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้เข้าร่วมโครงการและเยาวชนผู้ช่วยโครงการซึ่งเป็นเยาวชนจากนอกพื้นที่ให้มีทัศนคติที่ดีต่อกันและมีความไว้วางใจต่อกันมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ดีการดำเนินโครงการดังกล่าวยังมีข้อจำกัดหลายประการ ทั้งปัญหาผู้เข้าร่วมโครงการที่ไม่มีความหลากหลายเพียงพอ การขาดการเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมย่อยภายใต้โครงการ และที่สำคัญทุนทางสังคมดั้งเดิมซึ่งมีสมรรถภาพของการยึดเหนี่ยวทางสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งทุนทางสังคมด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นยังไม่ถูกนำมาใช้อย่างเต็มที่ ซึ่งส่งผลให้การสร้างให้เกิดทุนทางสังคมใหม่อันหมายถึงความสัมพันธ์ข้ามกลุ่มระหว่างรัฐกับชุมชน ระหว่างประชาชนต่างศาสนิก และระหว่างภายในกับภายนอกพื้นที่ที่ปรากฏให้เห็นแต่เพียงเบาบางเท่านั้น จึงไม่เพียงพอสำหรับการสร้างการยึดเหนี่ยวทางสังคมได้ในระยะยาว อย่างไรก็ดีแนวคิดและวิธีการที่ใช้ในกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการนี้ก็ยังมีศักยภาพในการพัฒนา ปรับปรุงเพื่อให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้ในอนาคต

คำสำคัญ: ทุนทางสังคม, การยึดเหนี่ยวทางสังคม, อำเภอมายอ, ปัตตานี, ความรุนแรง

 

This paper is part of the research study on the social cohesion building in development project held by community organizations and civil society organizations to reduce conflict in the Southern Border Provinces. This study seeks to elaborate on social cohesion process under challenging context of ongoing unrest incidents in Southern Border Provinces which have caused conflict at all levels of society through the Project on Increasing Opportunities for Cooperation through Local Wisdom in Mayo District, Pattani Province. The project was designed and held by the Office of Academic Resources, Prince of Songkla University at Mayo district, Pattani province with two objectives including; to study about the methodology which were used through the project for social cohesion establishment; to assess the effectiveness of the project methodology on social cohesion consolidation. The research methodology used in this paper was mixed methods; both quantitative and qualitative. This study found that the development project is critical in consolidation of social cohesion which could maintain relationship during ongoing violent conflict. Moreover, social cohesion is also a significant factor which drives cooperation in conflict resolution and may have caused of sustainable peace. This study also found that the development project could establish positive sense of social cohesion in small scale levels given that the development project established not only social relationship between people from outside and inside community as project participants but also at the individual level as in case of the project assistant group who are mostly youth group which trust among youth from different areas were built. However, this study also highlighted limitations of this project including; low diversity of background of participants; lack of maximizing profit from existing social capital such as shared local history which was foundation of the vertical relationship and relationship among people with different beliefs. Therefore the social cohesion established in this context is not sustainable enough to maintain relationship in the long run. Last but not least, this study highlighted that the concept and methodology used in this project are still relevant and could be developed and used further in future.

Keywords: social capital, social cohesion, Mayo district, Pattani province, violence


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2019.13

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus