การพัฒนาดัชนีชี้วัดคุณภาพชีวิตการทำงานของตำรวจชั้นประทวน ในสำนักงานกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5

ชยกร มามุ่งปณิธาน

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบดัชนีชี้วัดคุณภาพชีวิตการทำงานของตำรวจชั้นประทวน ในสำนักงานกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 กลุ่มตัวอย่าง มีจำนวน 153 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา รวม 12 สัปดาห์ สถานที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ สำนักงานกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามคุณภาพชีวิตการทำงานของตำรวจชั้นประทวนที่มีค่าความเชื่อมั่น 95% วิเคราะห์และประมวลผลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป มีชั้นยศดาบตำรวจ การศึกษาระดับปริญญาตรี มีระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่ 10 ปีขึ้นไป ได้รับค่าตอบแทนมากกว่า 22,000 บาท การศึกษาอบรมความรู้เพิ่มเติมมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป
ดัชนีชี้วัดองค์ประกอบด้านการทำงาน โดยรวมมีระดับการวัดอยู่ในระดับปานกลาง (3.46) ในองค์ประกอบทั้ง 3 ตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดด้านสภาพแวดล้อมการทำงานมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (3.63) และลักษณะงานมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (3.31)
ดัชนีชี้วัดพฤติกรรมการทำงาน ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (3.09) ในองค์ประกอบทั้ง 3 ตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดด้านการอุทิศตนเพื่อองค์กร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (3.56) ดัชนีชี้วัดคุณภาพชีวิตการทำงานโดยรวม 8 ตัวชี้วัด ในภาพรวมมีระดับการวัดอยู่ในระดับปานกลาง (3.02) ส่วนองค์ประกอบทั้ง 8 ตัวชี้วัด พบว่า ดัชนีชี้วัดด้านการบูรณาการทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (3.30)

The objective of this study was to investigate the quality of life working indicators of the police non-commissioned officer bureau in Provincial Police Region 5. The sample was 153 people and the study was conducted over a period of 12 weeks. The study was set up and conducted at the officer bureau in provincial police region 5. The tools used for data collection were questionnaires with the reliability of 95%. The frequencies, percentages, of averages, and standard deviations were analyzed.
The results showed most of the respondents were male and had an age over 50 years, with the rank of police senior sergeant major. The highest education was bachelor’s degree with extra courses of at least three times per person, and working experience was more than 10 years. Moreover, the salary was more than 22,000 baht.
The overall component indicator in life working was moderate (3.46). The combination of 3 indicators present the highest score (3.63) for the work environment and the minimum score (3.31) for the job description.
The rating work behavior overall was moderate (3.09). The combination of 3 indicators present the highest score (3.56) for dedication to the organization. The overall quality of work life in 8 indicators had an average (3.02), which was moderate, and the average of social integration social was moderate with the highest score (3.30).

 


Full Text:

PDF

References


จุฑามาศ แก้วพิจิตร. (2548). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. วารสารประชาชาติธุรกิจ, 28(3654), 6.

ทองศรี กําภู ณ อยุธยา. (2540). การบริหารบุคคลแนวใหม่. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุญเจือ วงศ์เกษม. (2530). คุณภาพชีวิตการทำงานกับการเพิ่ม ผลผลิต. วารสารการเพิ่มผลผลิต, 26(1), 29-33.

ประจักษ์ จงอัศญากุล. (2546). การรับรู้บรรยากาศองค์การและ พฤติกรรมการทำงานของพนักงาน กรณีศึกษา: โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษลูกฟูกแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

แผนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2554). แผนปฏิบัติราชการสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติ แผนแม่บทฉบับที่ 5 (2550-2554) ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2554.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และ สังคมศาสตร์ (ฉบับปรับปรุงใหม่ล่าสุด). กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัย ศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร.

ลีลา สินานุเคราะห์. (2530). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู.

วิจิตร วรุตบางกูร. (2521). การวางแผนและพัฒนาสถานศึกษา. สมุทรปราการ: ขนิษฐาการพิมพ์และโฆษณา.

วิภาพร มาพบสุข. (2546). จิตวิทยาการทำงาน. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

สมยศ นาวีการ. (2533). การบริหารเพื่อความเป็นเลิศ. กรุงเทพมหานคร: บรรณกิจ.

Baruch, B. D. (1968). New Ways in Discipline. New York: Mc Graw-Hill.

Connellan, Thomas K. (1978). How to improve human performance: Behaviorism in business and industry. New York: Harper & Row.

Davis, L. E. (1977). Enchanting the Quality of Working Life: Development in the United State. International Labour Review, pp.53

Huse, E. & Cumming, T. (1985). Organizaton Development and Change. Minnesota: West.

Walton, R. E. (1973). Quality of Working Life: What is it?. Sloan Managemen Review, 15 (Fall 1973), 11-21.

White, D. D. (1989). Organization Behavior. New York: imone & Schaster.




DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2014.22

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus