การส่งเสริมทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง การเจริญเติบโตของพืช โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ร่วมกับการโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์

วิลาวัลย์ เทพจักร, สุรีย์พร สว่างเมฆ, มลิวรรณ นาคขุนทด

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและผลการส่งเสริมทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ร่วมกับการโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์ กลุ่มเป้าหมาย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนที่ส่งเสริมวิทยาศาสตร์แห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 33 คน เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ร่วมกับการโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์ จำนวน 3 แผน 2) แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ของครูชีววิทยาและผู้วิจัย 3) แบบวัดทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและ 4) ใบงาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหาจากแบบสะท้อนการจัดการเรียนรู้และข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากแบบวัดทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและใบงาน ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางจัดกิจกรรมในขั้นการเตรียมการ ครูควรเตรียมประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์และข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งด้านบวกและด้านลบ ขั้นพัฒนาทักษะ ครูควรจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปจากข้อมูลจำนวนมาก ขั้นการอภิปราย ครูต้องเชื่อมโยงความรู้เข้ากับประเด็นที่ศึกษาผ่านการโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์ ส่งผลให้นักเรียนเกิดการสะท้อนคิด และขั้นประเมิน ครูควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เปลี่ยนแปลงการตัดสินใจตามข้อมูลที่ได้จากการโต้แย้ง และ 2) นักเรียนมีค่าเฉลี่ยทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพหลังเรียนที่ 3.70 อยู่ในระดับดีมาก ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนเรียนที่ 3.00 อยู่ในระดับพอใช้ สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพจากใบงานระหว่างเรียนของนักเรียนที่มีค่าเฉลี่ย 3.6 อยู่ในระดับดีมากเช่นเดียวกัน

คำสำคัญ: ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ, การจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์, การโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์, การเจริญเติบโตของพืช

 

This research aimed to studying the guidelines for learning management to enhance the Effective communication skills and effect of enhance the Effective communication skills through Socioscientific issues with Scientific argument learning management. The target group was 33 students of grade 11 in second semester, academic year 2016, who study in enhancing science high school curriculum at Phitsanulok province. Research tools were 1) Plan of Socioscientific issues with Scientific argument learning management 3 plans. 2) Reflection by teachers and researcher record form 3) Effective communication skills test, and 4) Worksheets. This research applied the action research. Data analyses were 1) qualitative data from reflection record form to content analysis, and quantitative data from the Effective communication skills test, worksheets were analyzed by means and standard deviation. Results were; 1) the guidelines for learning management using Socioscientific issues with Scientific argument to enhance Effective communication skills should emphasize 4 procedure, Provide step; teacher should provide case study and both of positive and negative of Socioscientific issues. Skills development; teacher should create activity for students to analyze and conclude a lot of data. Discussion step; teacher must link knowledge students to Socioscientific issues for students reflect, and Evaluate step; teacher should give an opportunity for student change decisions based on information obtained from the Scientific argument and 2) the average score from post-test of Effective communication skills was at 3.70 that mean exemplary level that higher than pretest level was at 3.00 that mean basic level. Moreover, the average score from worksheet through student during studying per lesson was at 3.60 that mean exemplary level too.

Keywords: Effective communication skill, Socioscientific issues learning management, Scientific argument, plant growth


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2018.44

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus