การพัฒนาการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน

รุ่งทิวา บุญมาโตน, วนินทร สุภาพ, รัชฎา วิริยะพงศ์

Abstract


การรู้เรื่องคณิตศาสตร์เป็นสมรร ถนะที่จำเป็นในการใช้ความรู้และทักษะในวิชาคณิตศาสตร์ที่ได้เรียนมาในชีวิตจริง ซึ่งการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของนักเรียนไทยยังอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานที่พัฒนาการรู้เรื่องคณิตศาสตร์และเพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานที่มีต่อการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่อาศัยความสอดคล้องกันของเนื้อหาและสถานการณ์ เพื่อทำให้นักเรียนเกิดความรู้และทักษะในการนำไปใช้ได้ในเวลาเดียวกัน กลุ่มเป้าหมายในงานวิจัยนี้คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 39 คน โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ในจังหวัดพิษณุโลก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรม แบบสังเกตการจัดการเรียนรู้ อนุทินสะท้อนความคิดเห็นของนักเรียน และแบบทดสอบการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนตามวงจร PAOR ทั้งหมด 3 วงจร ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานที่พัฒนาการรู้เรื่องคณิตศาสตร์โดยให้ความสำคัญกับการเริ่มต้นบทเรียนด้วยสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของนักเรียน การใช้คำถามปลายเปิดเพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น การส่งเสริมให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ การส่งเสริมให้นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อน และเน้นให้นักเรียนได้สร้างสถานการณ์ในบริบทใหม่ ทำให้นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน ส่วนใหญ่มีการรู้เรื่องคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดี

คำสำคัญ: การรู้เรื่องคณิตศาสตร์, การจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน, ความน่าจะเป็น, วิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

 

Mathematical literacy is the necessary performance for using knowledge and skills to solve real-life situations. However, from the survey results, it was found that this kind of students’ competency was low. The purposes of this research were to study context-based learning that develops mathematical literacy and to study the results of using context-based learning on students’ mathematical literacy on probability. Context-based learning is learning activities based on the consistency of the content and situation that provide the knowledge and skills to work in the same time. The participants of this research were 39 grade XI students in one of high school in Phitsanulok Province. Research instrument consist of the lesson plans, worksheets, observation forms, reflective sheets and mathematical literacy test. In the research process, the cycle of PAOR was run for three rounds. The result found that context-based learning for developing mathematical literacy should begin with situations in a context relevant to the student’s daily life, use open-ended questions to extract student’s opinions, encourage students to practice, create new concept and share ideas with friends. Moreover, focus on students should have a chance to create situations in new contexts. These activities lead most students to a good level of mathematical literacy.

Keywords: mathematical literacy, context-based learning, probability, classroom action research


Full Text:

PDF


DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2018.25

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Office of Academic Resources, Prince of Songkla University, Pattani Campus